Home
Tags
Login
Register
Search
Home
อิศรญาณภาษิต
อิศรญาณภาษิต
May 12, 2018 | Author: Anonymous | Category:
Education
DOWNLOAD PDF
Share
Report this link
Description
อิศรญาณภาษิต (เพลงยาวอิศรญาณ) เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ไม้ซีกงัดไม้ซุง ๑ ๒ ๓ ขว้างงูไม่พ้นคอ ๑ ๒ ๓ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย สำนวน ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ สุภาษิต ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ ๒ ประการ คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง คำพังเพย ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน อิศรญาณภาษิต (เพลงยาวอิศรญาณ) ผู้แต่ง หม่อมเจ้าอิศรญาณ (กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ฉายา “อิสสรญาโณ” จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อสั่งสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เพื่อเตือนใจให้ฉุกคิดก่อนกระทำสิ่งใด เพื่อสั่งสอนเรื่องการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคม ลักษณะการประพันธ์ กลอนเพลงยาว คือ กลอนที่แต่งทำนองจดหมาย ชายหญิงนิยมเขียนถึงกัน หรือเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆ ในสมัยโบราณ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ มีลักษณะเด่น คือ ขึ้นต้นด้วยวรรครับ บทแรกมี ๓ วรรค บทต่อมามี ๔ วรรคไปเรื่อยๆ มีความยาวไม่จำกัด จบด้วยคำว่า เอย กลอนเพลงยาว คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านเนื้อหา มีเนื้อหาเพื่อสั่งสอน ให้ข้อคิด ในการใช้ชีวิต สะท้อนแนวคิดและค่านิยมในสังคมในอดีต คุณค่าของเรื่อง (ต่อ) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ แต่งด้วยภาษาที่เรียบง่าย เอามาเรียงร้อยให้สวยงาม แต่งด้วยสำนวนเชิงประชดประชัน ส่งอารมณ์ถึงผู้อ่าน เนื้อเรื่อง บทที่ ๑ หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้ทรงเชี่ยวชาญในเชิงกลอนทรงนิพนธ์คำกลอนสุภาษิตโบราณ สั่งสอนเตือนใจไว้เพื่อเป็นทาน เนื้อเรื่อง บทที่ ๒ สำหรับคนที่โง่เขลาเบาปัญญาที่ไปลุ่มหลงในความชั่วต้องฝึกใจให้รู้เท่าทันกิเลส คือ เอาใจเป็นนายบังคับใจตัวเองให้อยู่เหนือกิเลส เพื่อจะ ได้เป็นพาหนะไปสู่ความสุข สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง จิตที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ เนื้อเรื่อง บทที่ ๓ ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นต่างกันแต่เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นธรรมดา เราก็มีมิตรจิตเขาก็มีมิตรใจฉะนั้นเรารักกันดีกว่าเกลียดกัน สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เนื้อเรื่อง บทที่ ๔ ผู้ใดทำดีต่อเราเราก็ควรทำดีต่อเขาตอบ ผู้ใดที่ทำไม่ดีต่อเราหรือทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธความชั่วจะทำลายความดีลงจนหมดสิ้น เป็นชายนั้น ไม่ควรดูถูกชายด้วยกัน สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง คนล้มอย่าข้าม เนื้อเรื่อง บทที่ ๕ รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ก็จงทำสิ่งไม่ดีต่อไป แต่ถ้าเราจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ จงทำความดี อย่าทำในสิ่งที่ผิดทุกคนต้องตาย ด้วยกันทั้งนั้น จงทำความดีไว้จะได้ไม่อายเทวดา สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ เนื้อเรื่อง บทที่ ๖ อย่าดูถูกความดีหรือความชั่ว ว่าทำเพียงเล็กน้อยเพราะมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ ให้หมั่นสำรวจจิตใจตนเองเพื่อจะได้เตือนตนไว้ได้ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง จงเตือนตนด้วยตนเอง เนื้อเรื่อง บทที่ ๗ เห็นสิ่งใดกีดขวางทางอยู่ จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะเก็บ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และเมื่อไป เห็นการกระทำของใคร อย่าเที่ยวทำปากบอนไปบอกแก่คนอื่น อาจนำผลร้ายมาสู่ตนเองได้ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง คิดก่อนพูด อย่าพูดก่อนคิด เนื้อเรื่อง บทที่ ๘ ให้ประพฤติปฏิบัติตนตามผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดก่อน ย่อมมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า และอย่าเป็นคนอกตัญญู จงมีความขยันหมั่นเพียรทำงานอยู่เสมอแล้วจะมีความสุขสบายในภายหลัง สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด , หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เนื้อเรื่อง บทที่ ๙ อย่านำสิ่งที่มีค่าไปให้แก่ผู้ไม่รู้ค่าย่อมไร้ประโยชน์ ฉะนั้นควรไปปรึกษาหารือ กับนักปราชญ์ หรือผู้รู้ เท่านั้น สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง วานรได้แก้ว , ไก่ได้พลอย , หัวล้านได้หวี เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๐ ของสิ่งใดก็ตามที่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นสิ่งดีหรือสิ่งที่สวยงาม เราก็ต้องว่างามตามไปด้วย ไม่ว่าจะ จริงหรือไม่จริง เราไม่ควรไปคัดค้านเพราะท่าน เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดอาจกริ้วได้ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง เห็นดีเห็นงาม , ลูกขุนพลอยพยัก , น้ำท่วมปาก เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๑ เกิดเป็นคนต้องรู้เท่าทันใจของตนเอง คือต้องสอนใจตนเองหรือเตือนตนเองได้ และถ้าจะขอความช่วยเหลือจากผู้ใด เราต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครชอบที่จะถูกใช้งานเหมือนวัว สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง จงเตือนตนด้วยตนเอง , โคนันทวิศาล เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๒ คนบ้ายอเปรียบเหมือนคนไม่อยู่กับร่องกับรอย อย่าไป ยึดติด หลงยศหลงตำแหน่ง คำป้อยอต่าง ๆ นั้น ถ้าเรา หลงเชื่อ อาจทำให้เราเดือดร้อนได้ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ ไม่มีอะไรจริงแท้แน่นอน เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๓ พวกทรงเจ้าเข้าผี ไม่มีใครจับ ถ้าเป็นผีจริงมันหลอกก็ช่างมันเถิด ไม่น่ากลัวเท่าคนหลอกกันเองควรแยกแยะให้ดี อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น เพราะที่เห็นนั้นอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๔ จะสร้างสิ่งใดให้สูงก็อย่าสร้างเกินว่าฐานที่จะรับน้ำหนักไว้ได้ เมื่อได้เรียนวิชาใดจงเรียนไป แต่ให้เก็บความรู้ไว้ใช้เมื่อถึงเวลาอันสมควร คนแก่มีประสบการณ์มากเราควรเชื่อฟังคำทักท้วง สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง นกน้อยทำรังแต่พอตัว , คมในฝัก เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๕ ประพฤติตนตามแนวทางที่ผู้ใหญ่เคยทำมาก่อนแล้วย่อมปลอดภัย ไม่ควรไปพูดขัดคอคน เพราะจะทำ ให้เขาโกรธไม่พอใจ ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด , รู้ยาวรู้สั้น น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือเข้าไปขวาง เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๖ ผู้ที่เป็นหญิงหม้ายมักถูกผู้ชายพูดจาแทะโลม เหมือนกับถูกข่มเหง คนที่จนเพราะถูกไฟไหม้ ยังน่าสงสาร หรือดีกว่าตนเองที่ทำตัวเองให้จน(เล่นพนัน) อย่าแสดงอำนาจโอ้อวดท้าทายสิ่งที่เป็นบทลงโทษ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ผีพนันเข้าสิง , ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๗ แม้จะมั่นคงดังเสาหินใหญ่สูงแปดศอก แต่เมื่อถูกผลักบ่อย ๆ เข้า เสานั้นก็อาจคลอนแคลนได้ เปรียบ เหมือนใจคนย่อมอ่อนไหวไปตามคำพูด ของผู้อื่นได้ ฉะนั้น จึงควรฟังหูไว้หู และคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเชื่อใคร สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ฟังหูไว้หู , น้ำหยดลงหินทุกวันหินยังกร่อน , อย่าหูเบา เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๘ เมื่อเวลาจะใช้ใครให้รู้จักพูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่อ่อนหวาน สิ่งที่รู้ว่าผิดพลาดให้รีบแก้ไขทำให้สะดวก รู้จักประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติกัน สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย , เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม เนื้อเรื่อง บทที่ ๑๙ จงดูปลาหมอไว้เป็นครูสอนใจเรา แม้ปลาหมอจะถูกปล่อยไว้บนบก มันก็ยังกระเสือกกระสนเพื่อจะเอา ชีวิตรอด ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรพ่ายแพ้แก่อุปสรรค ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อสู้ชีวิตต่อไป สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ปลาหมอแตกเหงือก , ฆ่าควายเสียดายพริก เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๐ คนเราถ้าไม่ใช่เนื้อคู่กัน อยู่ไปก็เปล่าประโยชน์ ความโลภเป็นบาปทำให้เกิดความอยาก สามีภรรยาคู่ใดถ้าภรรยารู้จักออมรู้จักเก็บ สามี รู้จักทำหากินก็จะทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ชายหาบหญิงคอน เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๑ แม้ว่าเราจะรู้จริง เราก็ไม่ต้องอวดว่าเรารู้ เดี๋ยวเขาก็จะสรรเสริญเอง ไม่ควรทำอะไรเกินหน้าเกินตาคนอื่น เพราะคนเกลียดเรามีมากกว่าคนรักเรา สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง เกินหน้าเกินตา , คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ, คนชังมีนัก คนรักมีน้อย เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๒ ถ้าไม่มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอเขาไปโต้เถียงกับเขาก็ไม่มีประโยชน์เพราะไม่มีใครเชื่อ คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้า มาทำความเสียหาย การพูดโดยไม่คิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย , ปลาหมอตายเพราะปาก เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๓ อย่าได้ ประมาทการกระทำที่ดูเหมือนจะไม่ เป็นพิษเป็นภัย ควรประเมินกำลังของเราเสียก่อนว่าอยู่ในภาวะใดมีกำลัง หรือ อ่อนแรง จะเตรียมสู้ หรือหนี ดูให้เหมาะแก่สถานการณ์ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ไม้ซีกงัดไม้ซุง , หาทางหนีทีไล่ เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๔ การล้อเล่นกับงูเห่าซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอันตรายมาก ทำได้ แต่ต้องเป็นคนใจกล้า แต่อย่าไปเข้าข้างหาง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และต้องทำด้วยความว่องไวอย่างเด็ดขาดทันที จึงจะไม่ตกอยู่ในฐานะที่เพลี่ยงพล้ำ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง จับงูข้างหาง , หมองูตายเพราะงู เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๕ จะขออะไรกับเพื่อนฝูงที่ชอบพอกันก็สามารถขอกันได้ แต่จะให้ทุกคนที่ขอคงไม่ได้พ่อแม่เลี้ยงดู ทะนุถนอมมาเป็นอย่างดี ถ้าหากเป็นคนจนก็จะเหมือนเปรตที่เที่ยวขอส่วนบุญ สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง เปรตขอส่วนบุญ , ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เนื้อเรื่อง บทที่ ๒๖ ถึงมีบุญวาสนา ไม่ทำการงานใด ๆ ก็ไม่ดีต้องเป็นผู้ที่คิดดี ทำดีบุญจึงส่งผล เมื่อหมดบุญลงแล้วอย่า ทะนงตนว่าเป็นผู้มีบุญบารมี ขอให้คนเราคิดว่าความรักความชังนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนเท่าการทำความดี สำนวน/สุภาษิต/ข้อคิดที่เกี่ยวข้อง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว วิเคราะห์อิศรญาณภาษิต ผู้แต่ง วัตถุประสงค์ ลักษณะคำประพันธ์ สรุปเนื้อหา (เลือกถอดความ ๑ บท) บทวิเคราะห์ คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ข้อคิดที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ (มากกว่า ๑ ข้อ)
Comments
Report "อิศรญาณภาษิต"
×
Please fill this form, we will try to respond as soon as possible.
Your name
Email
Reason
-Select Reason-
Pornographic
Defamatory
Illegal/Unlawful
Spam
Other Terms Of Service Violation
File a copyright complaint
Description
Copyright © 2025 UPDOCS Inc.