Home
Tags
Login
Register
Search
Home
อิเหนา
อิเหนา
April 25, 2018 | Author: Anonymous | Category:
Education
DOWNLOAD PDF
Share
Report this link
Description
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ 1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี 2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ 1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี 2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา พระราชกรณียกิจที่สําคัญ พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ ) พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร" พระราชกรณียกิจที่สําคัญ พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ ) พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร" พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346 การทํานุบํารุงบ้านเมือง การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่นสถาปัตยกรรม ขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่ 1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ 2. บทละครในเรื่องอิเหนา 3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย 4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน 5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ 6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน การติดต่อกับพม่า พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้ พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน การติดต่อกับพม่า พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้ พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา การติดต่อกับญวน พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร ) พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชการที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้งคือ พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ การติดต่อกับโปรตุเกส พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช การติดต่อกับอังกฤษ พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลย ไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ เสด็จสวรรคต เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒ เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องอิเหนานี้ใช้ลักษณะการแต่งแบบกลอนบทละคร โดยมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักจะขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ฯลฯ เรียกว่าคำขึ้นต้น โดยคำว่า เมื่อนั้น ใช้กับตัเอกของเรื่องหรือตัวละครกษัตริย์ คำว่า บัดนั้น ใช้กับตัวบทละครสามัญ หรือไม่สำคัญ และคำว่า มาจะกล่าวบทไป ใช้เมื่อขึ้นตอนใหม่ หรือความใหม่ ทั้งนี้จำนวนคำในแต่ละวรรคจะมีไม่เท่ากัน เพราะจะต้องให้เหมาะสมกับท่ารำและทำนองเพลง นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดเพลงกน้าพาทย์สำหรับประกอบกิริยาอาการของตัวละครด้วย เช่น เชิด เสมอ เชิดฉิ่ง กราวรำ ฯลฯ และเพลงสำหรับขับร้อง เช่น ร่าย สมิงทรง ชมตลาด นางครญ ฯลฯ พร้อมทั้งบอกจำนวนคำในบทนั้นด้วย คือ ๒ วรรคเป็น ๑ คำกลอน แผนผังและตัวอย่างบทละคร บัดนั้น ดะหมังผู้มียศถา นับนิ้วบังคมคัลวันทา ทูลถวายสาราพระภูมี เมื่อนั้น ระตูหมันหยาเรืองศรี รับสารมาจากเสนี แล้วคลี่ออกอ่านทันใด ความเป็นมา เรื่องอิเหนาเป็นพงศาวดารของชวาประมาณ ๑,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ในพงศาวดารเรียกว่า " อิเหนา ปันหยี กรัตปาดี " แต่ชาวชวาเรียกเป็นคำสามัญว่า ปันหยี ส่วนคำว่าอิเหนา ชวาออกเสียงเป็น อินู ในพงศาวดารกล่าวว่า กษัตริย์ไอรลังคะ ครองเมืองดาฮา (ดาหา)พระองค์มีพระธิดา ๑ องค์ พระโอรส ๒ องค์ ต่อมาพระธิดาออกบวช กษัตริย์ไอรลังคะ แยกอาณาจักรออกเป็นสองแคว้นคือ กุเรปันและดาหา เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์โอรสองค์โตครองกุเรปัน องค์เล็กครองดาหา กษัตริย์กุเรปัน มีพระโอรสชื่ออิเหนา กษัตริย์ดาหา มีพระธิดาชื่อบุษบา พระธิดาที่บวชเป็นชีได้ให้อิเหนาและบุษบาอิภิเษกกันทั้งสองเมืองจึงรวมกันอีกครั้งอิเหนาเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ได้ปราบปรามบ้านเมืองน้อยใหญ่อยู่ในอำนาจจึงได้ชื่อว่า" มหาราชองค์หนึ่งของชวา " และกษัตริย์ราชววงศ์อิเหนาได้ครองราชย์สืบมา จนถึงประมาณพ.ศ. ๑๗๖๔ จึงเสื่อมอำนาจ กษัตริย์อังรกะแย่งราชสมบัติได้ และย้ายเมืองไปตั้งทีเมืองสิงคัสซารี (สิงหัดส่าหรี) ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยุ่ที่เมืองมัชปาหิตจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๐๐๐ ชวาก็ตกอยู่ในอำนาจของอิเดีย และตกอยุ่ในอำนาจของโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ จนกระทั่งเป็นอิสระภาพในปัจจุบันสำหรับชาวชวา อิเหนาถือว่าเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่แตกต่างไปจากพงศาดารมากการที่เรื่องอิเหนาเข้ามาสู่ประเทศไทยกล่าวกันว่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์มีพระราชธิดากับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ๒ องค์คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าทั้งสององค์มีนางกำนัลเป็นหญิงชาวมลายูที่ได้มาแต่เมืองปัตตานีนางกำนัลผู้นี้เป็นผู้เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ต่อมาทั้งสองพระองค์จึงนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครองค์ละเรื่องบทละครของเจ้าฟ้ากุณฆลชื่อว่าดาหลัง ส่วนของเจ้าฟ้ามงกุฎให้ชื่อว่าอิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุณฑลว่าอิเหนาใหญ่ ของเจ้าฟ้ามงกุฎเรียกว่าอิเหนาเล็ก พระเจ้าอยุ่หัวบรมโกศโปรดให้เล่นเป็นละครในทั้งสองเรื่อง แต่คนทั่วไปนิยมเรื่องอิเหนาเล็ดมากกว่าเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง (พ.ศ ๒๓๑๐) ต้นฉบับบทละครเรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาซึ่งเรื่องเดิมแต่งไว้ถึงตอนสึกชีสูญหายไป เมื่อกอบกู้เอกราชได้ ไทยต้องฟื้นฟูบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งรวบรวมวรรณคดีเก่าๆ แล้วเรียบเรียงของเก่าขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหม่ทั้งหมดเพื่อนเป็นบทละครรำ ทรงพิถีพิถันเลือกสรรถ้อยคำให้เหมาะแก่ท่ารำ การทรงพระราชนิพนธ์นั้น มีบางตอนที่พระองค์โปรดให้กวีท่านอื่นๆ มีส่วนแต่งร่วมด้วยแล้วนำบทละครนั้นมาอ่านถวายหน้าพระที่นั่ง ให้ที่ประชุมกวีช่วยกันปรับปรุงแก้ไขโดยพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย บางตอนก็ให้ผู้เชี่ยชาญท่ารำทดลองรำตามบทด้วย บทละครเรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ ๒ จึงสนุกและไพเราะ เหมาะกับการเล่นละครรำอย่างยิ่ง จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ และเป็นหนังสือที่พร้อมด้วยคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม ตัวละครในเรื่องอิเหนา อิเหนา อิเหนา หรือระเด่นมนตรี มีชื่อว่า หยังหยังหนึ่งหรัดอินดราอุดากันสาหรีปาติ อิเหนาเองหยังตาหลาเมาะตาริยะกัด ดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เองกะนะกะหรีกุเรปัน เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและ ประไหมสุหรีนิหลาอระดา อิเหนาเป็นชายรูปงาม มีสเน่ห์มีนิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ อิเหนามีมเหสี ๑๐ องค์ นางบุษบา เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนาบุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอก จากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดายอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตามนางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือองค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหรา เป็นเธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ ท้าวกุเรปัน เป็นกษัตริย์ครองกรุงกุเรปัน มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี มีประไหมสุหรีชื่อนิหลาอระตา ท้าวกุเรปัน มีโอรสองค์แรกกับลิกูชื่อ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือ อิเหนาและวิยะดา ท้าวกุเรปันมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๓ องค์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของเมืองต่างๆ คือ ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปัน ทรงหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรี ของวงอสัญแดหวา จึงไม่พอใจมาก ที่อิเหนาไปมีความสัมพันธ์กับจินตะหรา จินตะหรา เป็นเธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ ท้าวกุเรปัน เป็นกษัตริย์ครองกรุงกุเรปัน มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี มีประไหมสุหรีชื่อนิหลาอระตา ท้าวกุเรปัน มีโอรสองค์แรกกับลิกูชื่อ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือ อิเหนาและวิยะดา ท้าวกุเรปันมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๓ องค์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของเมืองต่างๆ คือ ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปัน ทรงหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรี ของวงอสัญแดหวา จึงไม่พอใจมาก ที่อิเหนาไปมีความสัมพันธ์กับจินตะหรา ท้าวดาหา กษัตริย์ครองกรุงดาหา มีมเหสี ๕ องค์ ประ ไหมสุหรีชื่อ ดาหราวาตี ท้าวดาหามีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือบุษบาและสียะตรา ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรมเพราะทรงยินยอมให้จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาซึ่งใหญ่กว่าบุษบาที่เป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา ท้าวกะหมังกุหนิง ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้อง ๒ คน คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน และมีโอรสชื่อวิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรสที่พระองค์ และมเหสีรักดังแก้วตาดวงใจ เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้นางบุษบาธิดาของท้าวดาหา ซึ่งสิ่งที่เห็นเป็นเพียงรูปวาดเทานั้น พระองค์ก็แต่งทูตไปขอนางทันที ครั้นถูกปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงโกรธมาก และยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งนางบุษบามาให้วิหยาสะกำ แม้น้องทั้งสองจะทัดทาน แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดโดยประกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก วิหยาสะกำ โอรสของท้างกะหมังกุหนิง ซึ่งเกิดจาดประไหมสุหรี วิหยาสะกำมีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ และเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวมากสังคามาระตา โอรสของระตูปรักมาหงันและ เป็นน้องของมาหยารัศมี สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงามมีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธเป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง สุหรานากง โอรส ของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี พระบิดาได้สู่ขอสะการะหนึ่งหรัด ธิดาท้าวกาหลัง ให้เป็นคู่ตุหนาหงันตั้งแต่เด็ก สุหรานากงปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม ระตูหมันหยา โอรสของท้าวมังกันพระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว เมื่อ แต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา โดยให้ระเด่นจินดาส่าหรีเป็นประไหมสุหรี ระตูหมัยหยาและประไหมสุหรีจินดา มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้ ประสันตา เป็น พี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา ซึ่งท้าวกุเรปันเลือกแต่ครั้งอิเหนาประสูติใหม่ๆ บิดาของประสันตาเป็นเสนาบดีตำแหน่งยาสา(ฝ่ายตุลาการ) ของกุเรปัน ประสันตามีนิสัยตลก คะนอง ปากกล้า เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยังเจ้าเล่ห์อีกด้วย เนื้อเรื่องย่อ ในดินแดนชวาแต่โบราณมีกษัตริย์ราชวงศ์หนึ่ง เรียกว่า วงศ์อสัญแดหวาหรือวงศ์เทวา กล่าวกันแต่เดิมว่าเมืองหมันหยามีเจ้าเมือง มีธิดาสี่ องค์ เจ้าเมืองหมันหยาคิดจะแต่งการสยุมพรให้กับธิดาทั้งสี่ แต่หากษัตริย์ที่คู่ควรไม่ได้ ต่อมามีเหตุเกิดขึ้นคือมีพระขรรค์ ชัยกับธงผุดขึ้นที่หน้าพระลาน ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพงชาวเมืองเดือดร้อนเจ้าเมืองหมันหยาจึงป่าวประกาศให้กษัตริย์เมืองต่างๆ มาถอนพระขรรค์กับธงออกเพื่อ แก้อาถรรพ์ ผู้ใดทำได้สำเร็จจะยกธิดาและสมบัติให้กึ่งหนึ่งกษัตริย์เมืองต่างๆที่มาอาสา ก็ไม่สามารถถอนพระขรรค์กับธงได้ จนอสัญแดหวา สี่องค์ที่มาสถิต ณ เขาไกรลาส แปลงกายเป็นมนุษย์มาฉุดถอนพระขรรค์กับธงได้สำเร็จ เทวราชทั้งสี่ไม่ขอรับสมบัติหากขอเพียงธิดาเป็น คู่ครองและจะไปสร้างเมืองอยู่เองเทวาองค์แรกพาธิดาองค์ที่หนึ่งไปสร้างเมืองกุเรปันองค์ที่สองพาธิดาองค์รองไปสร้างเมืองดาหา องค์ที่สามพาธิดาองค์รอง สุดท้องไปสร้าง เมืองกาหลังและองค์ที่สี่พาธิดาองค์สุดท้องไปสร้างเมืองสิงหัดส่าหรี สี่เมืองนี้จึงนับเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติและยศศักดิ์ ด้วยเป็นวงศ์ อสัญแดหวาและยังเป็นที่ยอมรับและยกย่องของหัวเมืองน้อยใหญ่ และสี่เมืองนี้เท่านั้นที่สามารถตั้งตำแหน่งมเหสีได้ ๕ องค์ อันได้แก่ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกูและเหมาหลาหงีส่วนความเกี่ยวพันระหว่างวงศ์อสัญแดหวากับเมืองหมันหยานั้นเรียกได้ว่าเกี่ยวดองกันเพราะวงศ์อสัญแดหวารุ่นต่อๆมา ล้วนได้ธิดาเมืองหยันหยา มาเป็นประไหมสุหรี สมัยต่อมาเจ้าผู้ครองเมืองกุเรปันประสงค์จะมีโอรสกับประไหมสุหรี จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเทวดาและได้โอรสสมพระทัยโหรทำนายว่าโอรสจะเป็นผู้มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่ แต่เมื่ออายุได้ ๑๕ ชันษาจะมีเคราะห์ต้องพลัดพรากจากเมืองถึงสามครั้ง จะไปได้ชายาเมืองอื่น พลัดบ้านพลัดเมืองถึง ๑๓ ปีจึงจะกลับคืนกุเรปันวันที่โอรสประสูติวงศ์อสัญแดหวาซึ่งเป็นบรมอัยกาสถิตอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชแก้วสุรกานต์จารึกชื่อ อิเหนา มาวางไว้ข้างตัว ฝ่ายประไหมสุหรีเมือง หมันหยา ได้ให้กำเนิดธิดาชื่อ จินตะหราวาตี ประไหมสุหรีของเมืองหมันหยา ได้ให้กำเนิดโอรสชื่อ สุหรานากง ซึ่งวงศ์อสัญแดหวาได้นำกริชจารึกชื่อมาประทานให้เช่นเดียวกับอิเหนา เมืองกาหลังได้กำเนิดธิดาแต่ประไหมสุหรีชื่อ สกาหนึ่งหรัด และเป็นคู่ตุหนาหงัน(คู่หมั้น) กับสุหรานากง ส่วนเมืองดาหา ประไหมสุหรีได้กำเนิดธิดาชื่อ บุษบา ซึ่งทางเมืองกุเรปันได้สู่ขอตุนาหงันไว้กับอิเหนา อีก ๕ ปี ต่อมาประไหมสุหรีของเมืองดาหาก็ได้ให้กำเนิดโอรสชื่อ สียะตราอิเหนาเจริญวัยจนอายุได้ ๑๕ ชันษา ก็มีความเชี่ยวชาญเก่งกล้าสมเป็นโอรสกษัตริย์ ต่อมาพระมารดาของประไหมสุหรีเมืองหมันหยาทิวงคต ท้าวหมันหยาจึงมีราชสาส์นแจ้งไปยังเมืองกุเรปันและเมืองดาหา ทางเมืองกุเรปันจึงให้อิเหนานำเครื่องเคารพศพไปร่วมงานครั้นอิเหนาไปถึงเมืองหมันหยา ได้เข้าเฝ้าท้าวหมันหยาและพบกับจินตะหราธิดาเจ้าเมืองจึงนึกรักคิดใคร่ได้นางจนไม่ยอมกลับกุเรปัน ท้าวกุเรปันเห็นว่างานศพก็เสร็จสิ้นแล้วจึงให้คนถือหนังสือไปตามตัวอิเหนากลับโดยบอกเหตุผลว่าพระมารดาทรงครรภ์แก่ใกล้ ประสูติ อิเหนาต้องจำใจกลับวังแต่ได้เขียนเพลงยาวและฝากแหวนสองวง ขอแลกกับสไบของนางจินตะหรา เมื่ออิเหนาถึงเมืองกุเรปันก็ทราบว่าประไหมสุหรีกำเนิดธิดาชื่อ วิยะดา และท้าวดาหาได้สู่ขอตุนาหงันไว้ให้กับสียะตราน้องชายบุษบา อิเหนากลับมากุเรปันก็คร่ำครวญคิดถึงจินตะหรา ท้าวกุเรปันจึงมีราชสาส์นเร่งรัดไปยังท้าวดาหาเพื่อจะจัดการวิวาห์ระหว่างอิเหนากับบุษบาให้เป็นที่เรียบร้อยฝ่ายอิเหนาระแคะระคายว่าจะต้องแต่งงานกับบุษบา จึงออกอุบายขออนุญาตท้าวกุเรปันออกประพาสป่า แล้วปลอมตัวเป็นนายโจรชื่อ มิสารปันหยีให้พี่เลี้ยงและไพร่พลปลอมเป็นชาวบ้านป่าทั้งสิ้นเดินทางมุ่งหน้าสู่ภูเขาปะราบีใกล้เมืองหมันหยากล่าวถึงกษัตริย์สามพี่น้องอีกวงศ์หนึ่ง องค์แรกครองเมืองปันจะรากัน มีธิดาชื่อสการะวาตี องค์รองครองเมืองปักมาหงัน มีธิดาชื่อ มาหยารัศมี มีโอรสชื่อ สังคามาระตา องค์ที่สามครองเมืองบุศสิหนา เพิ่งไปสู่ขอนางตรสาธิดาเมืองปะตาหรำมาเป็นชายา ระหว่างเดินทางกลับจากพิธีวิวาห์ พี่น้องทั้งสามเมืองก็แวะพักนมัสการฤาษีสังปะติเหงะซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาปะราปีระหว่างที่ไพร่ ของอิเหนาพักอยู่ที่เชิงเขาปะราปี ประสันตาพี่เลี้ยงของอิเหนาได้ล่วงล้ำไปมีเรื่องวิวาทกับไพร่พลของท้าวบุศสิหนา ท้าวบุศสิหนายกทัพมารบ กับอิเหนาซึ่งใช้ชื่อว่า มิสารปันหยี ท้าวบุศสิหนาถูกมิสารปันหยีแทงตกม้าตาย ท้าวปันจะรากันและท้าวปักมาหงันทราบจากฤาษีสังปะติเหงะว่า มิสารปันหยี คืออิเหนา จึงยอมอ่อนน้อมไม่สู้รบด้วย ทั้งยกสการะวาตีมาหยารัศมีและสังคามาระตาให้แก่อิเหนาด้วย จากนั้นอิเหนาก็เข้าเมืองหมันหยา และได้จินตะหราเป็นชายาสมใจ แล้วได้พามาหยารัศมีและสะการะวาตีมาอยู่ด้วยกันฝ่ายเมืองดาหาเมื่อเตรียมการพิธีวิวาห์เสร็จก็แจ้งไปยังท้าวกุเรปัน ท้าวกุเรปันก็ร้อนใจที่ทราบว่าอิเหนาไปได้จินตะหราเป็นชายาจึงให้คนถือหนังสือไปตามให้อิเหนากลับอิเหนาพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมกลับ และขอถอนหมั้นบุษบา ท้าวดาหาได้ทราบความก็ขุ่นเคืองมากถึงกับตัดสินพระทัยว่าแม้นใคร มาขอบุษบาก็จะยกให้ทันทีกล่าวถึงเมืองพี่เมืองทั้งสองเมือง เมืองพี่คือเมืองล่าสำ เมืองน้องคือเมืองจรกา ท้าวล่าสำมีธิดาชื่อ กุสุมาเป็นคู่หมั้นกับสังคามาระตาฝ่ายท้าวจรกายังไม่มีคู่ด้วยรูปชั่วตัวดำ เมื่อได้ทราบข่าวทาง เมืองดาหาก็แต่งเครื่องบรรณาการมาขอบุษบา ท้าวดาหาก็ยินดียกให้ ด้วยกำลังแค้นเคืองอิเหนา กล่าวถึงกษัตริย์อีกวงศ์หนึ่ง องค์พี่ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีโอรสชื่อ วิหยาสะกำ องค์รองครองเมืองปาหยัง มีธิดาสององค์ ชื่อ รัตนาระติกา และรัตนาวาตี องค์สุดท้องครองเมืองประหมันสลัด มีโอรสชื่อ วิหรากะระตา มีธิดาชื่อ บุษบาวิลิศอยู่มาวิหยาสะกำออกเที่ยวป่า องค์อสัญแดหวาไม่ต้องการให้บุษบาแต่งงานกับจรกา จึงจำแลงเป็นกวางทองล่อวิหยาสะกำไปพบรูปนิมิตของบุษบา วิหยาสะกำเห็นรูปก็หลงรักไม่เป็นอันกินอันนอน ท้าวกะหมังกุหนิงจึงแต่งเครื่องบรรณาการไปขอบุษบาให้โอรสทั้งที่รู้ว่าท้าวดาหาได้ยกบุษบาให้กับจรกาแล้วเมื่อท้าวดาหาไม่ยินยอม ท้าวกะหมังหุหนิงจึงยกทัพมารบเมืองดาหาทางเมืองดาหาจึงรีบบอกไปยังเมืองพี่เมืองน้องและเมืองจรกาให้มาช่วยท้าวกุเรปันมีราชสาส์นไปยังอิเหนาที่เมืองหมันหยาให้มาช่วยท้าวดาหาอิเหนาจึงจำต้องยกทัพมาช่วยและได้รบกับท้าวกะหมังกุหนิงซึ่งถูก อิเหนาแทงด้วยกริชถึง แก่ความตาย วิหยาสะกำก็ถูกสังคา มาระตาแทงตกม้าตาย ทางเมืองดาหาทราบว่าอิเหนามีชัยต่อข้าศึก ก็ให้จัดพิธีต้อนรับอิเหนาเข้าเมือง เมื่ออิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหา ไปพบบุษบาก็เสียดายและนึกรักอิเหนาพยายามยืดเวลาเพื่อจะอยู่เมืองดาหานานๆ และไปร่วมพิธีใช้บนที่ภูเขาวิลิศมาหรา อิเหนาพยายามหาโอกาสเข้าใกล้บุษบาและพยายามกลั่นแกล้งจรกาให้บุษบารังเกียจจรกา มิหนำซ้ำอิเหนายังถือโอกาสกอดจูบบุษบาตอนมะเดหวีกับบุษบาเข้าไปเสี่ยงเทียนในถ้ำครั้นกลับเข้าเมือง อิเหนาจึงคิดลักพาบุษบาหนี โดยสร้างสถานการณ์ว่ามีข้าศึกเข้ามาปล้นเมืองดาหาอิเหนาอาศัยความโกลาหลปลอมตัวเป็นจรกาพาบุษบาหนีออกนอกเมืองไปซ่อนไว้ ในถ้ำกลางป่าแล้วย้อนรอยกลับเข้าเมืองดาหา ทำเหมือนไม่รู้ว่าบุษบาถูกลักพาไปกล่าวถึงองค์อสัญแดหวาขุ่นเคืองอิเหนาที่ทำหยาบหยามตามอำเภอใจ จึงบันดาลให้ลมหอบพาบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกยังเมืองประมอตันเพื่อให้พลัดกันกับอิเหนาและองค์อสัญแดหวายังแปลงบุษบาให้ดูเหมือนผู้ชาย ให้ชื่อว่าอุณากรรณ ท้าวประมอตันได้พบจึงรับไปเป็นโอรสบุญธรรมฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าลมหอบบุษบาหายไปก็เสียใจมาก จึงปลอมเป็นนายโจรมิสารปันหยีออกติดตามนาง ระหว่างทางก็ตีเมืองเล็กเมือง น้อยเป็นเมืองขึ้น อิเหนาพยายามตามหาบุษบาต่อไปแต่ไม่พบ จึงไปบวชเป็นฤาษีชื่อ กัศมาหราอายันข้างอุณากรรณก็พยายามออกติดตามหาอิเหนาเช่นเดียวกัน จนไปถึงภูเขาปัจจาหงันที่อิเหนาบวชเป็นฤาษีอยู่ ทั้งสองได้พบกันแต่ก็ไม่รู้จักกันอุณากรรณเดินทางต่อไปถึงเมืองกาหลัง ต่อมาอิเหนาลาจากเพศฤาษีติดตามอุณากรรณไปยังเมืองกาหลังด้วยเมื่ออยู่ที่เมืองกาหลัง ทั้งท้าวกาหลัง อุณากรรณและมิสารปันหยีต่างไม่รู้จักกันเพียงแต่สงสัยคลับคล้ายคลับคลา ต่อมาอุณากรรณเดินทางจากเมืองกาหลังไปสืบหาอิเหนา และไปบวชเป็นชี ณ ภูเขาตะหลากันโดยใช้ชื่อว่า ชีติหลาอรสา ต่อมาประสันตาได้พบนางชีติหลาอรสา ก็สงสัยว่าจะเป็นบุษบา จึงมาทูลอิเหนาอิเหนาจึงปลอมตัวเป็นเทวดาชื่อ หลงหลังอาหลัด ไปหานางที่อาศรม แล้วหลอกว่าจะมารับนางไปอยู่ที่เมืองฟ้า แต่กลับพานางเข้าเมืองกาหลัง ประสันตาได้ทำอุบายเล่นหนังตามเรื่องราวของอิเหนาโดยเริ่มตั้งแต่ เมื่อขึ้นไปไหว้พระปฏิมาบนภูเขาวิลิศมาหรา กระทั่งบุษบาถูกลมหอบไป ในที่สุดอิเหนากับบุษบาก็จำได้ ทั้งสี ยะตราและวิยะดาก็ได้พบกัน เมื่อพบกันพร้อมหน้า ที่เมืองกาหลังแล้ว อิเหนาก็ยังไม่กล้ากลับเมืองดาหาเพราะเกรงท้าวดาหาจะกริ้วสียะตราจึงต้องแต่งสาส์นไปทูลให้ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาทรงทราบ เพื่อให้สองกษัตริย์ยกโทษและรับอิเหนากลับเข้าเมือง ในที่สุดท้าวกุเรปัน ท้าวดาหาก็จัดกองทัพมารับอิเหนาและบุษบาที่เมืองกาหลังทั้งได้จัดงานพิธีอภิเษกให้อิเหนาด้วย มีเจ้าเมืองต่างๆ มาร่วมพิธีมากมายจากนั้นอิเหนาก็ปกครองแว่นแคว้นแดนชวาด้วยความสุขสืบมา อิเหนาตอนต่างๆ บ้านเมืองและกำเนิดตัวละคร ในชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง จึงทำให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้หมั้นไว้กับบุษบารากา ธิดาของท้าวกาหลังซึ่งเกิดจากลิกู ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประ ไหมสุหรีมีโอรสบ้าง จึงได้ทำพิธี บวงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ได้สุบินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมาตกตรงหน้า และนางรับไว้ได้ เมือประสูติก็เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นนิมิตดี องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนำกริชมาประทานให้ พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่า อิเหนา ต่อมาประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา ฝ่ายท้าวดาหา ประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้พระนามว่า บุษบา ขณะประสูติก็เกิดอัศจรรย์ก็มี กลิ่นหอมตลบทั่วเมือง หลังจากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรีก็ประสูติโอรสอีก พระนามสียะตรา ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหนึ่งหรัด ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรส พระนามสุหรานากง และธิดาพระนาม จินดาส่าหรี กษัตริย์ในวงศ์เทวาจึงได้จัดให้มีการตุนาหงันกันขึ้น ระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา กระหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการแต่งงาน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น ตอนอิเหนาพบบุษบา จุดเริ่มต้นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ตัวละครประกอบความยุ่งยาก และเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายอันเป็นการดำเนินเรื่องของบทละครเรื่องนี้ เกิดจากอัยยิกาของอิเหนาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุแทนท้าวกุเรปัน แต่เสร็จพิธีแล้วอิเหนาไม่ยอมกลับ เพราะหลงรักนาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนท้าวกุเรปันต้องมีสารไปเตือน เมื่อกลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ไม่ใคร่เต็มใจ จึงออกอุบายทูลลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นามว่ามิสาระปันหยี คุมไพร่พลรุกรานเมืองต่าง ๆ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองนั้นเป็นเมืองขึ้น ระตูหลายเมืองได้ถวายโอรสและธิดาให้ ที่สำคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือมาหยารัศมีและ สะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่งอิเหนายกย่องให้เป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปันหยีรอนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ พอถึงกำหนดการอภิเษก ท้าวดาหาก็มีสารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ที่มาขอ ตอนแอบวาดภาพนางบุษบา มาถึงจรกาที่มีรูปชั่วตัวดำ ได้ครองเมืองจรกา จรกาเป็นคนที่ชอบให้คนยกยอตน จรกาอยากได้ผู้หญิงสวยมาป็นพระชายาของตน จึงได้ให้ช่างเขียนไปวาดรูปพระธิดาของเมืองต่างๆในชวา แต่ก็ไม่มีใครที่ถูกใจ พี่เลี้ยงของจรกาได้ทูลว่ายังมีพระธิดาของเมืองสิงหัดส่าหรีและพระธิดาของเมืองดาหาที่มีความงดงามจนเป็นที่เลื่องลือในแดนชวา จรกาได้ฟังดังนั้นก็ให้ช่างวาดไปวาดรูปพระธิดาของสองเมืองมา ช่างเขียนทั้งสองก็แยกย้ายกันไปวาดตามเมืองนั้น ช่างเขียนที่ไปวาดรูปพระธิดาแห่งเมืองสิงหัดส่าหรี เมื่อได้วาดรูปของนางจินดาส่าหรีสมใจก็กลับไปถวายให้กับจรกา ฝ่ายช่างที่วาดรูปนางบุษบานั้นยังไม่มีโอกาสที่จะ วาดรูปของนางเลยตอนที่เห็นบุษบาครั้งแรกตอนเสด็จไปชมอุทยานก็ตะลึงในความงามจนลืมวาดรูป ต่อมาช่างเขียนก็ได้ไปแอบดูนางบุษบาแล้วได้วาดรูปบุษบาตอนพึ่งตื่นจากบรรทม แต่ช่างเขียนก็ยังไม่พอใจก็ยังรอที่จะวาดรูปตอนที่บุษบาต่อ เมื่อได้โอกาสที่บุษบาได้แต่งองค์ทรงเครื่องครบช่างเขียนได้วาดรูปอีกหนึ่งรูปซึ่งเป็นรูปที่แต่งองค์ทรงเครื่องครบสมบูรณ์ เมื่อวาดรูปเสร็จสมใจช่างเขียนก็ม้วนรูปใส่ในผ้าโพกศีรษะแล้วรีบเดินทางกลับไปยังเมืองจรกา พอพระอาทิตย์ตก ก็ได้ มาถึงทางสามแยกระหว่างเมืองดาหา เมืองจรกาและเมืองกะหมังกุหนิงช่างเขียนที่เหนื่อยจากการเดินทางมาก็เลยหลับไปตรงนั้นระตูจรกาเห็นภาพบุษบาก็หลงรักทันที ขอให้ระตูส่าสำผู้เป็นพี่ชายไปสู่ขอนาง ท้าวดาหาจำใจต้องยก บุษบาให้ระตูจรกาตามที่ลั่นวาจาไว้และขอเวลาเตรียมวิวาห์ 3 เดือน ตอนศึกกระหมังกุหนิง ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน ท้าวกะหมังกุหนิงนั่งอยู่บนที่ประทับเห็นระตูปาหยัง กับ ระตูประหมันน้องชายทั้งสองก็เรียกให้มาร่วมนั่งด้วยกัน แล้วจึงไต่ถามสารทุกข์สุขดิบกับเหล่าระตูเมืองเล็กๆ พร้อมทั้งปรึกษาหารือเรื่องที่จะไปตีเมืองดาหา เหล่าระตูต่างๆ ก็ตอบรับด้วยดี ยินดีที่จะไปออกรบด้วย ซึ่งเป็นที่พอใจแก่ท้าวกะหมังกุหนิงอย่างยิ่ง จึงเชิญให้เหล่าระตูต่างๆไปพักผ่อนตามอัธยาศัย แต่ก็ยังเรียกน้องทั้งสองไว้ แล้วจึงเล่าเรื่องตามจริงทั้งหมดให้ฟังจนส่งสารไป ฝ่ายน้องทั้งสองได้ฟังเรื่องทั้งหมดก็ไม่เห็นด้วยจึงทูลทัดทานไปว่าไม่ควรยกกองทัพไปต่อกรกับเหล่าวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งมีพระเดชานุภาพและเชี่ยวชาญในการรบจนเป็นที่เลื่องลือ ถึงขนาดว่ามีเมืองมาขอเป็นเมืองขึ้นนับร้อย การยกทัพไปรบกับเมืองดาหาจึงเหมือนกับหิ่งห้อยแข่งกับแสงอาทิตย์ มีแต่จะพ่ายแพ้ จึงขอให้พี่ลองคิดไตร่ตรองดูก่อน เพราะผู้หญิงสวยๆใช่ว่าจะมีแต่เพียงพระธิดาของท้าวดาหาเสียที่ไหน ท้าวกะหมังกุหนิงก็ตอบไปว่าที่ไปไม่ใช่ไปรบกับท้าวดาหา เพียงแต่จะไปรบชิงนางบุษบาจากจรกาเท่านั้น ระตูทั้งสองจึงกราบทูลไปว่า ตอนนี้บุษบายังอยู่กับพระบิดาที่เมืองดาหา หากเกิดศึกชิงตัวนางขึ้น ท้าวดาหาก็ย่อมจะต้องไปบอกความแก่เมืองพี่น้องทั้ง ๓ เมืองเป็นแน่ จะทำให้เกิดศึกกระหนาบขึ้น เกินกำลังที่เราจะรับไหว ยิ่งถ้าเสียทีในการรบ ก็จะเป็นที่อับอายขายหน้าแก่จรกา ท้าวกะหมังกุหนิง ก็ตอบไปว่าพวกเจ้าไม่เข้าใจอันตัวอิเหนานั้นไปอยู่เมืองหมันหยา ได้สักปีกว่าแล้ว ทำให้พระญาติวงศ์โกรธมาก คงจะไม่ยกพลมา ครั้นเมืองกาหลังกับสิงหัดส่าหรียกทัพมา ก็ไม่เห็นจะน่ากลัวแต่อย่างใด ส่วนจรกา ล่าสำนั้น ต่อให้ยกพลมาเป็นสิบแสน(ล้าน) หากโดนโจมตีประเดี๋ยวเดียวก็คงหนีเข้าป่าไป ขอให้น้องทั้งสองเห็นแก่หลานด้วย หากไม่ได้นางมาก็คงจะตรอมใจตาย พี่ก็คงจะต้องตายเพราะลูกตามไปด้วย เพราะฉะนั้น ไหนๆถ้าจะต้องตาย จะเร็วจะช้าก็ตายเช่นกัน หากโชคดีก็คงจะได้ดังที่หวังไว้ น้องทั้งสองเมื่อฟัง ท้าวดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง พอบ่ายสามโมง ท้าวดาหาอาบน้ำ แต่งตัวออกไปยังท้องพระโรง นั่งลงบนที่ประทับให้ยาสาเบิกตัวราชทูตเข้าเฝ้า อำมาตย์รับคำสั่งรีบเชิญทูตเข้าเฝ้า แล้วให้อาลักษณ์รับสารมาอ่าน ในสารก็กล่าวไว้ว่า "ท้าวกะหมังกุหนิงขอถวายความเคารพมา ด้วยท้าวกะหมังกุหนิงมีลูกชาย และออกไปล่าสัตว์ในป่าบังเอิญพบรูปของนางบุษบาที่กลางป่า ชะรอยว่าตัววิหยาสะกำและนางบุษบานี้จะเป็นเนื้อคู่กัน วิหยาสะกำนั้นก็เฝ้าแต่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปนาง หวังว่าเราทั้งสองเมืองจะได้เป็นทองแผ่นเดียวกันและขอพึ่งบารมี ไปจนตาย" ท้าวดาหาทรงทราบจุดประสงค์ ก็ตรัสตอบราชทูตไปว่า นางบุษบานั้นได้ยกให้หมั้นหมายกับจรกาไปแล้ว ทั้งยังนัดวันวิวาห์ไว้ด้วย การที่จะรับของหมั้นจากระตูนี้ก็เกรงว่าจะเป็นการผิดประเพณี คนเขาจะติฉินนินทาเอาได้ เครื่องราชบรรณาการจงคืนไป เมื่อราชทูตได้ฟังดังนั้นก็กราบทูลท้าวดาหาว่าท้าวกะหมังกุหนิง สั่งให้ทูลท้าวดาหาด้วยว่าหากไม่ยอมยกบุษบาให้กับวิหยาสะกำ ก็ขอให้เตรียมตกแต่งบ้านเมืองให้มั่นคง ท้าวดาหาได้ ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนาและระตูหมันหยา ท้าวกุเรปันรู้ว่ามีข้าศึกจึงเขียนสารลับให้เสนาถือไปยังเมืองหมันหยา ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งแจ้งให้อิเหนารีบยกทัพมามา ส่วนอีกฉบับหนึ่งให้ถวายท้าวหมันหยาให้เสนารีบไปในเวลา ๑๕ คืน ดะหมังรับคำสั่งจึงนำสารรีบออกจากท้องพระโรงร้องเรียกบ่าวไพร่พ ร้อมกันรีบขี่ม้าออกจากกุเรปันไปทันที เมื่อดะหมังทูลลาไปแล้วท้าวกุเรปันจึงคิดตรึกตรองในเรื่องราวแล ้วมีรับสั่งกับกะหรัดตะปาตีว่าศึกครั้งนี้ยิ่งใหญ่นักอิเหนาจะลำบาก หงอยเหงา และไม่มีที่ปรึกษา จงยกทัพไปสมทบกับทัพอิเหนารีบยกทัพไปช่วยอย่าให้ข้าศึกประชิดเมือง ได้ กะหรัดตะปาตีรับคำสั่งว่าจะไปในวันพรุ่งนี้ ในเวลารุ่งเช้ากะหรัดตะปาตี เข้าที่สรงสนานอาบน้ำที่ปนด้วยน้ำหอมบรรจงแต่งกายในชุดวันเสาร์ ประดับเจียระบาด ปั้นเหน่งเพชร ตาบทิศทับทรวง สวมสร้อยสังวาลประสานกัน กำไลแขน แหวนเพชรประดับพลอย สวมชฎาทัดดอกไม้ เหน็บอาวุธที่เอวแล้วเข้าเฝ้าท้าวกุเรปัน ท้าวกุเรปันจึงอวยพรให้มีเดชานุภาพปราบศัตรูให้แพ้พ่ายไป กะหรัดตะปาตีรับพรแล้วออกไปที่กองทัพขึ้นขี่ม้าเคลื่อนทัพออกไป เดินทางจนถึงทางร่วมเมืองหมันหยาก็ให้หยุดทัพรอทัพของอิเหนา ทัพเมืองกาหลังยกมาสมทบ ตำมะหงงและดะหมัง เสนาเมืองกาหลังเร่งยกกองทัพมาพร้อมทหารอาสาห้าหมื่นล้วนมีความ สามารถ ช้าง ม้า อาวุธครบครัน มีธงสำคัญนำหน้ายกทัพออกจากเมืองมาถึงทางร่วมริมดงก็พบกับทัพ ของสุหรานากงจึงยกทัพมาพร้อมกัน ทูตของท้าวกะหมังกุหนิงที่ถือสารไปยังเมืองดาหาก็กลับเข้าเฝ้าท ้าวกะหมังกุหนิง พร้อมกับทูลว่าได้นำสารไปถวายท้าวดาหา ท้าวดาหาทราบเรื่องทุกประการแต่ตัดขาดว่าได้ยกนางบุษบาลูกสาวให ้กับจรกาพร้อมกับกำหนดวันแต่งงานไว้เรียบร้อย ทั้งยังส่งคืนของทั้งหมดที่ได้นำไปให้ ไม่ได้เกรงใจท้าวกะหมังกุหนิงสักนิดและยังบอกไปอีกว่าถ้าท้าวดา หาไม่ยอมยกนางบุษบาให้ก็ขอให้เตรียมตกแต่งป้องกันบ้านเมืองเพื่ อจะรับศึกที่จะยกไป ถึงขั้นบอกไปเช่นนี้ ว่าจะมีข้าศึก แต่ท้าวดาหาก็ยังไม่สนใจ กลับบอกว่าตามแต่ใจ เมื่อได้ฟังแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงก็รู้สึกโกรธมาก พูดว่า "ดูดู๋เจ้าเมืองดาหาตนอุตส่าห์อ่อนข้อไปง้อ เขาควรที่จะพูดจาดีๆ กลับตัดไมตรี อันตัวเรานั้นก็มีเดชานุภาพ อาณาจักรก็กว้างใหญ่ เพราะฉะนั้นจะต้องไปเอาตัวบุษบามาให้ได้ ถ้าไม่ได้จะไม่ยอมกลับเมือง และจะสู้จนกว่าชีวิตจะหาไม่" ทูตทั้งสองได้ทูลอีกว่าในวันที่จะออกจากเมืองมาได้ยินท้าวดาหาส ั่งเสนีให้รีบไปแจ้งเรื่องแก่ท้าวกุเรปันเชษฐา ท้าวสิงหัสส่าหรี และท้าวกาหลังอนุชารวมทั้งจรกา เห็นว่ากษัตริย์ทั้งสี่เมืองจะมาช่วยป้องกันเมืองดาหา ท้าวกะหมังกุหนิง ได้ฟังก็โกรธมากจึงมีประกาศว่าถึงกษัตริย์ทั้งสี่กรุงจะมาช่วยร บเป็นศึกใหญ่ก็ไม่กลัวจะรบให้แหลกเป็นผุยผงแล้วมีพระราชโองการใ ห้อำมาตย์ตำมะหงง ดะหมังเร่งเกณฑ์พวกไพร่พลที่มความสามารถในการสงครามเลือกทหารทั้งสี่เหล่าที่เคยทำลายค่ายขวากหนาม รวบรวมได้สามสิบหมื่นให้วิหยาสะกำเป็นกองหน้า กองหลังให้ ระตูปาหยังและระตูประหมันสองน้องชาย ส่วนท้าวกะหมังกุหนิงนั้นเป็นจอมทัพคอยหนุนทัพหน้าไม่กลัว เกรงพ วกวงศ์เทวัญจะต่อสู้กันให้ปรากฏเป็นศักดิ์ศรีในครั้งนี้ เมื่อสั่งมหาเสนาแล้วจึงถามขุนโหราทั้งสี่ว่าจะยกทัพไปในวันพรุ ่งนี้จะดีร้ายประการใด โหรรับคำสั่งจากท้าวกะหมังกุหนิงคลี่ตำราตรวจดูชะตาท้าวกะหมังก ุหนิงกับวิหยาสะกำเห็นว่าชะตาถึงฆาต หากยกทัพในวันพรุ่งนี้ แต่หากรอก่อนเป็นเวลา ๗ วัน หลังจากนั้นไม่เป็นไร ท้าวกะหมังกุหนิงได้ฟังโหรทำนายดังนั้นจึงกล่าวว่าได้มีคำสั่งออกไปแล้ว พระองค์คิดว่าหากยับยั้งการยกกองทัพไปรบ จะอับอายขายหน้าเหล่าไพร่พลว่าตนขลาดกลัวข้าศึก ดังนั้น ถึงแม้ตัวตายก็จะไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นได้ อีกทั้งหากยกทัพช้าไป เมืองดาหาจะได้กองทัพจากเมืองอื่นมาสมทบ จะทำให้เอาชนะยากขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเป็นอย่างไรก็ขอให้สุดแท้แต่บุญแต่กรรม แล้วท้าวกะหมังกุหนิงก็เสด็จกลับเข้าข้างใน วิหยาสะกำเดินทัพมา ก็ตีเมืองเล็ก ๆ ตามรายทางไปด้วยและให้ตรวจตราจัดทัพเดินทางมาเป็นทัพหน้าตามทาง มาได้ ๑๐ วันก็มองเห็นกำแพงเมืองดาหาอยู่ลิบๆ มองเห็นปราสาทราชวังเรียงรายกัน จึงหยุด ทัพแล้วตั้งค่ายไว้ที่ชายป่า ท้าวกะหมังกุหนิง เร่งรีบยกทัพมาใกล้ทุ่งเมืองดาหาเห็นธารน้ำไหลใสเย็นมีร่มเงาจา กต้นไทรบังแสงแดดจึงสั่งเสนีให้ตั้งทัพแบบนาคนามตามตำราสงคราม ดะหมังรับคำสั่งออกมาเกณฑ์ทหารให้ถากถางที่ทำค่ายหน้าค่ายหลัง ยกหอรบขึ้นเป็นชั้น ๆ ชักปีกกาขึงถึงกัน ผูกเป็นราวสามชั้นมัดให้แน่นแบบขันชะเนาะ ตั้งป้อมวางเป็นระยะใส่ที่กำบังและไม้เสี้ยมแหลมเป็นอาวุธอย่าง เหมาะสม ตามสนามเพลาะพูนดินให้เต็มใช้ไม้ไผ่เจาะทะลวงปล้องทำเป็นช่องใส ่ปืน ปลูกโรงรถโรงช้าง โรงม้าเพื่อผูกไว้ไม่ให้แตกตื่นใช้เสาตะลุงไว้ผูกช้าง สนามก็ปราบจนเลี่ยนเตียน เร่งทำตำหนักน้อยใหญ่ และทำเพิงรายรอบทั้งซ้ายขวา ภายนอกค่ายปักขวากหนามไว้อย่างมากมายจนรอบค่าย และจัดทหารออกตระเวนวางหลุมกับดักและคอยสอดแนมข้าศึก ส่วนในค่ายให้ประชุมการรบ ท้าวกะหมังกุหนิง เห็นค่ายเสร็จจึงชวนวิหยาสะกำโอรสและเรียกระตูปาหยังกับระตูประ หมันน้องชายทั้งสองลงจากรถขึ้นไปยังพลับพลาที่พัก ฝ่ายทหารของเมืองดาหาออกสอด แนมข้าศึกเห็นข้าศึกยกทัพมาถึงชายป่ าเห็นขบวนทัพหน้าทัพหลังตั้งค่ายมีธงทิวมากมายเสียงคนตัดไม้ราบ ไปทั้งป่าต่างคนรีบขึ้นม้าควบเข้าเมืองทันทีแจ้งแก่ปาเตะเสนาผู ใหญ่ ปาเตะตกใจจดเอาทุกถ้อยคำรีบเข้าเฝ้าท้าวดาหาว่าข้าศึกยกมาตีเมื องมากมายทั้งช้างม้ารถเสียงดังสนั่นดังเสียงคลื่นในมหาสมุทรก็ไ ม่ปานตอนนี้ตั้งอยู่ที่เนินทรายชายทุ่งติดป่าต่อกัน ท้าวดาหาได้ฟังก็ตรึกตรองว่าอันศึกครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเขามาขอนางบุษบาแล้วไม่ยกให้คิดน้อยใจอิเหนาที่แกล้งให้เกิดความวุ นวายไปทั่ว ทั้งเสื่อมเสียถึงวงศ์ตระกูลจนมีศึกยกมาทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั้งแผ่นดิน ท้าวดาหาจึงให้เสนาไปเกณฑ์พลรักษาเมืองเอาไว้ให้มั่น คอยดูท่าทีของข้าศึก และจะคอยทหารที่ให้ไปแจ้งเรื่องแก่ท้าวกุเรปันพี่ชายและท้าวสิง หัดส่าหรี กับ กาหลังน้องชายว่าจะยกทัพมาช่วยหรือไม่อย่างไรหากไม่ยกมาช่วยก็จ ะทำสงครามตามลำพังจะยากเย็นแค่ไหนก็ตาม กล่าวถึง สุหรานากง และเสนาเมืองกาหลังยกทัพเดินทางนอนป่าสิบห้าวันก็เดินทางมาถึงเ มืองดาหา เมื่อถึงกลางเมือง จึงหยุดทัพแล้วชวนตำมะหงงไปเข้าเฝ้า ท้าวดาหาเห็นสุหรานากงกับเสนาเมืองกาหลังก็ดีใจมากที่น้องชายของตนส่งกองทัพมาช่วยรบแต่การศึกครั้งนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะนางบุษบานั้นอัปลักษณ์คู่หมั้นก็ไม่รักแกล้งทำอย่างสมใจ แต่ท้าวดาหาก็ถามไปว่าเมืองกุเรปันส่งใครมาช่วยรบ สุหรานากงก็ตอบไปว่าท้าวกุเรปันได้ให้กะหรัดตะปาตียกทัพมาสมทบก ับอิเหนา ท้าวดาหาได้ฟังเช่นนั้นก็ประชดอิเหนา ว่า กะหรัดตะปาตีมาช่วยก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ แต่อิเหนาเล่า เขาจะมาทำไม ท้าวกุเรปันเรียกให้กลับกี่ครั้งก็ไม่ยอมจากเมืองหมันหยาจนตัดข าดการแต่งงาน มีศึกประชิดเมืองก็เพราะใคร เห็นทีคงจะรักเมียมากกว่าญาติ ถ้ามาก็เห็นว่าคงจะมาเพราะกลัวท้าวกุเรปันเสียมากกว่า แล้วท้าวดาหาบอกสุหรานากงว่าคงไม่ต้องคอยอิเหนาหรอก แล้วให้สุหรานากงไปพักผ่อน สุหรานากงจึงขอถวายชีวิตให้เพื่อรับใช้ท้าวดาหา และอาสาไปออกรบกับทัพของท้าวกะหมังกุหนิง ดะหมังกุเรปันถวายสารท้าวหมันหยาและอิเหนา กล่าวถึงดะหมังจากเมืองกุเรปัน เมื่อเดินทางมาถึงเมืองหมันหยาก็ตรงไปยังเรือนพักของอิเหนาเ ข้าเฝ้าถวายพระราชสารแก่อิเหนา อิเหนาคลี่สารของท้าวกุเรปันออกอ่าน ซึ่งในสารนั้นกล่าวว่าตอนนี้มีข้าศึกมาตั้งทัพประชิดเมืองดาหา ขอให้อิเหนารีบยกพลไปตีให้ทันท่วงที ถึงไม่เห็นแก่บุษบาก็ขอให้เห็นแก่ท้าวดาหาผู้เป็นอา ศึกครั้งนี้เกิดขึ้นก็เพราะใครไปทำงามหน้าไว้ให้ เสียคำพูดให้อายชาวเมืองดาหา ครั้งนี้จะเมินเฉยอีกทำให้เสียศักดิ์ศรีก็แล้วแต่ใจ ถ้าไม่มาช่วยก็ขาดกันอย่าได้เผาผีกันอีกเลย เมื่ออิเหนาได้อ่านดังนั้น ก็ถอนใจด้วยความสงสัยว่าบุษบาจะงามถึงเพียงไหนเชียวจึงถูกใจระต ูทุกเมือง แค่เพียงเห็นรูปก็จะพากันมาตายเสียแล้ว หากงามเหมือนจินตะหราก็ว่าไปอย่าง จึงบอกแก่ดะหมังไปว่าจะยกทัพไปในอีก ๗ วัน แต่ดะหมังรีบทูลว่าต้องรีบไปในทันที เพราะตอนนี้ข้าศึกยกทัพมาติดพระนครแล้ว อิเหนาเกรงกลัวท้าวกุเรปันพระบิดาสุดที่ จะเลื่อนวันไป ทั้งรักทั้งกลัวห่วงหน้าพะวงหลังคิดแล้วก็ทอดถอนใจจึงสั่งตำมะหงให้รีบจัดทัพใหญ่ทั้งทัพม้า ทัพรถ ทัพช้างเลือกทหารที่มีความสามารถทั้งทหารปืนและทหารดาบ อิเหนาจะตัดศึกใหญ่ด้วยกำลังที่เข้มแข็งแม้นข้าศึกหนีก็จะทำลาย ให้สิ้นไป ถือเอาฤกษ์พรุ่งนี้จะยกทัพไปช่วยเมืองดาหาเมื่อสั่งเสร็จอิเหนา ก็ไปเข้าเฝ้าท้าวหมันหยา เมื่อไปถึงเขตวังในก็ลงจากหลังม้าเข้าท้องพระโรงทันที ดะหมังเมืองกุเรปันก็เข้าเฝ้าท้าวหมันหยาเช่นกันแล้วถวายสารแก่ เจ้าเมืองหมันหยาท้าวหมันหยารับสารจากดะหมังคลี่ออกอ่านทันทีในสารมีใจความว่า ตัวท้าวหมันหยามีลูกสาวให้แต่งตัวยั่วชายจนอิเหนาต้องร้างคู่ไป หลงรักไปติดพันช่างไม่อายผู้คน ตอนนี้มีศึกประชิดเมืองดาหา จนเกิดเรื่องวุ่นวายเสียงานการวิวาห์ไปหมดต่างคนก็หมางใจกัน ในการสงครามครั้งนี้ถ้าไม่ไปช่วยก็จะตัดญาติขาดมิตรกันไปก็แล้ว แต่ใจ เมื่ออ่านสารแล้วท้าวหมันหยากลัวท้าว กุเรปันขุ่นเคืองจึงยื่นสา รให้แก่อิเหนาและกล่าวว่า เห็นหรือไม่อิเหนาหลานรักเจ้าไม่เชื่อฟังคำจึงทำให้มีความผิดไป ด้วย แล้วเร่งให้อิเหนารีบยกทัพไปช่วยเมืองดาหาหากไม่ไปก็จะไม่ให้อยู่กับนางจินตะหราพร้อมทั้งให้ระเด่นดาหยนคุมกองทัพของเมืองหมันหยาไปด้วย ได้ฤกษ์ยกทัพไปในตอนเช้าพรุ่งนี้อิเหนารับคำสั่งแล้วลาไปยังปราสาทนางจินตะหรา เมื่อไปถึงก็เข้าแนบชิดนางทอดถอนใจแล้วแจ้งเรื่องราวแก่นางว่าดะหมังถือสารจากพระบิดาว่าเมืองดาหาเกิดศึกให้อิเหนารีบยกทัพไปช วยในวันพรุ่งนี้ขอให้นางจงอยู่ดีอย่าโศกเศร้าเสียใจเสร็จศึกแล วจะรีบกลับทันที นางจินตะหรา ได้ฟังก็แค้นใจสะบัดหน้าหันหลังให้พร้อมกับตัดพ้อต่อว่าอิเหนาว่าจะไปปราบข้าศึกหรือจะกลับไปหวนคืนสู่คู่หมั้นเก่า กันแน่ ไหนบอกว่าจะไม่ไปไหนจนกว่าจะตายจากกัน นางก็หลงเชื่อ ไม่รู้ว่าภายหลังจะมาเป็นเช่นนี้ แล้วอีกนานเท่าไหร่เล่าอิเหนาจะกลับมา อิเหนาชี้แจงว่าไม่เคยคลายความรักในตัวจินตะหราเลย แต่ตนมีเหตุจำเป็นต้องไป เพราะท้าวกุเรปันให้กลับสองครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้เกิดศึกสงคราม ไม่อาจจะขัดได้ แล้วจึงยื่นสารให้จินตะหราอ่าน นางจินตะหราก็รู้สึกคับแค้นใจไม่มองดูสาร แล้วคร่ำครวญว่า อนิจจาความรักนั้นก็เหมือนน้ำที่ไหลเชี่ยว ไฉนเล่าจะไหลกลับคืนมา คงไม่มีหญิงใดจะเจ็บช้ำไปกว่านาง เพราะหลงเชื่อ หลงรัก ถึงตอนนี้แล้วจะไปโทษใครได้ เสียแรงหวังที่จะฝากชีวิตไว้กับอิเหนาแต่ก็ไม่ปราณี ที่จักรีบเสด็จไปนั้นก็เข้าใจเพราะนางบุษบานั้นคู่ควรกับอิเหนา ไม่ต่ำศักดิ์เหมือนนาง ต่อไปชาวเมืองดาหาก็จะนินทาได้ นางเอาแต่ร้องไห้คร่ำครวญ อิเหนาปลอบโยนให้จินตะหราคลายความโศกเศร้า ว่าที่อิเหนาไปนั้น แม้บุษบาจะสวยก็จริง แต่อิเหนาตัดสัมพันธ์ไปแล้ว จรกาจึงมาทำการสู่ขอและเตรียมการวิวาห์พอท้าวกะหมังกุหนิงทราบก ็มาสู่ขอนางอีกเมื่อไม่ได้นางจึงเกิดศึกในเมืองดาหาเพื่อช่วงชิงนางบุษบาไม่ใช่ว่านางไม่มีใคร อันข่าวลือที่ว่าบุษบางามนักนั้นแต่ก็งามสู้นางจินตะหราไม่ได้ ครั้งนี้จำเป็นจึงต้องจำจากไปเพราะเกรงกลัวท้าวกุเรปันบิดาต่าง หาก หากเสียเมืองดาหาก็เหมือนเสียถึงวงศ์ตระกูลมีแต่จะถูก นินทา ขอให้นางคิดให้ดีเมื่อไปแล้วก็ไม่อยู่นานจะรีบกลับมาหานาง นางอย่าได้โศกเศร้าเสียใจ อิเหนาหอมแก้มนางและประคองขึ้นบนตัก นางจิตะหราเห็นสารแล้วค่อยบรรเทาความทุกข์ความแคลงใจ นางบอกอิเหนาว่าจะไปทำศึกก็ตามใจแต่เมื่อเสร็จศึกให้คิดถึงเมืองหมันหยาและรีบกลับมานางจะรออิเหนารับขวัญนางแล้วว่าคงเป็นเวรกรรมที่ต้องจากไปก็ขอฝากนางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี ให้จินตะหราดูแลเพราะนางทั้งสองห่างไกลบิดามารดาอย่าได้เคียดแค้นหึงหวงถ้าผิดก็ให้เมตตานางทั้งสอง อย่าถือโทษโกรธเคือง แล้วถอดสังวาลให้นางจินตะหราไว้ดูต่างหน้า นินทา ขอให้นางคิดให้ดีเมื่อไปแล้วก็ไม่อยู่นานจะรีบกลับมาหานาง นางอย่าได้โศกเศร้าเสียใจ อิเหนาหอมแก้มนางและประคองขึ้นบนตัก นางจิตะหราเห็นสารแล้วค่อยบรรเทาความทุกข์ความแคลงใจ นางบอกอิเหนาว่าจะไปทำศึกก็ตามใจแต่เมื่อเสร็จศึกให้คิดถึงเมืองหมันหยาและรีบกลับมานางจะรออิเหนารับขวัญนางแล้วว่าคงเป็นเวรกรรมที่ต้องจากไปก็ขอฝากนางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี ให้จินตะหราดูแลเพราะนางทั้งสองห่างไกลบิดามารดาอย่าได้เคียดแค้นหึงหวงถ้าผิดก็ให้เมตตานางทั้งสอง อย่าถือโทษโกรธเคือง แล้วถอดสังวาลให้นางจินตะหราไว้ดูต่างหน้า อิเหนาเข้าเฝ้าระตูหมันหยาและถวายบังคมลา อิเหนาทูลลาท้าวหมันหยาและประไหมสุหรี ต่างองค์ต่างอวยพรให้เดินทางปลอดภัยและให้ข้าศึกศัตรูพ่ายแพ้ แล้วอิเหนาก็ทูลลากลับมาที่ตำหนักของตน อิเหนากรีฑาทัพไปกรุงดาหา พอรุ่งเช้า อิเหนาทรงช้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ โหรา และชีพราหมณ์พอได้ฤกษ์ก็ลั่นฆ้องดังสนั่นกึกก้องไปทั้งสนาม ปุโรหิตทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามตำราพิชัยสงคราม ทั้งทัพหน้า ทัพหลัง ทัพหลวงพร้อมกัน ทหารโบกธงทองกระบี่ครุฑ พวกฝรั่งจุดปืนใหญ่ให้สัญญาณ ชีพราหมณ์ทำพิธีเบิกโขลนทวารอ่านคาถาอาคม เคลื่อนกองทัพ ออกจากเหมืองหมันหยา มุ่งตรงไปเมืองดาหา ระหว่างทางอิเหนาโศกเศร้าเสียใจอาลัยรักนางทั้งสามยิ่งนัก ว่าป่านนี้จะคร่ำครวญหา ใครจะปลอบนาง คิดถึงความหลังแล้งยิ่งใจหายคิดไปก็อายพวกไพร่พลจึงชักม่านปิดท ั้งสี่ทิศเหมือนจะบังแสงดวงอาทิตย์ ลมพัดกลิ่นดอกไม้เหมือนกลิ่นผ้านางที่เปลี่ยนมา ได้ยินเสียงนกยูงร้องก็คิดว่าเป็นเสียงของนาง จึงเผยม่านออกมาเห็นแต่ต้นไม้ใบไม้ จึงเอนตัวลงพิงหมอนเอามือก่า ยหน้าผากคิดถึงความรักก็ยิ่งเศร้าใจจนน้ำตาไหลออกมา ประสันตาพี่เลี้ยงเห็นเช่นนั้นก็ขี่ช้างมาข้างท้ายชี้ชวนให้ชมธ รรมชาติของป่าไปตลอดทาง ว่าป่านี้แปลกตากว่าป่าไหนๆ ไว้เสร็จศึกแล้วน่าจะชวนนางทั้งสามมาเที่ยวพักผ่อนให้สบาย อิเหนานิ่งฟังอยู่นานก็คลายทุกข์แล้วลุกขึ้นถามว่าป่านี้หรือสน กว่าพลางอิเหนาก็มองไปถามว่าไหนล่ะอย่าโกหกกัน ประสันตาแกล้งทำตกใจทูลว่าอยู่ดงนี้เพราะช้างเดินเลยมาแล้วแต่ด งข้างหน้ายังมี อิเหนายิ้มแล้วตอบว่าโกหกซึ่ง ๆ หน้าช่างไม่อาย ยังมาเฉไฉไปอีกคนอะไรน่าจะผลักให้ตกจากช้างท่าจะดี อิเหนาชมนกชมไม้ต่าง ๆ เห็นนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนกเบญจวรรณ นกนางนวล นกจากพราก นกแขกเต้าที่กำลังเกาะต้นเต่าร้าง นกแก้ว นกตระเวนไพร นกเค้าโมง นกคับแค ก็ให้นึกไปถึงนางทั้งสามตลอดทาง เดินทางมาหลายวันก็มาถึงทางร่วมเมืองกุเรปันพบกับกองทัพของกะหร ัดตะปาตีอิเหนาก็ให้หยุดกองทัพ กะหรัดตะปาตีพี่ชายอิเหนา เห็นทัพอิเหนายกมาก็ดีใจ บอกว่าท้าวกุเรปันบิดา อิเหนาจึงว่าการเดินทางทัพนั้นอ้อมกว่ากุเรปัน แล้วทั้งสองทัพก็จัดทัพเข้ากระบวนเดียวกันเร่งรีบยกทัพไปยังกรุ งดาหาทันที เมื่อถึงชายแดนเมืองดาหา อิเหนาก็หยุดตั้งค่ายนามครุฑตามตำราพิชัยสงคราม แล้วให้ตำมะหงงรีบไปกราบทูลท้าวดาหา ให้กราบทูลอย่าให้ขุ่นเคืองใจ ตำมะหงงรับคำสั่งแล้วควบม้าไปทันทีเมื่อไปถึงก็แจ้งยาสาเสนาเมื องดาหาว่าบัดนี้อิเหนา และกะหรัดตะปาตีจากกุเรปันยกทัพมาช่วยพระธิดาดาหาแล้วจงพาเข้าเ ฝ้ากราบทูลเรื่องราวให้กระจ่าง ยาสาดีใจมากพาตำมะหงงเข้าไปท้องพระโรงทันที ตำมะหงงกราบทูลว่าบัดนี้อิเหนากับกะหรัดตะปาตียกทัพมามากมายหลา ยแสนตั้งอยู่ปลายแดนเมืองดาหา ท้าวดาหารู้ว่าอิเหนายกทัพมาช่วยก็มีความดีใจเพราะอิเหนามีความ เก่งกล้าสมารถเห็นว่านางบุษบาจะไม่เป็นอันตราย แต่ไม่แสดงออกให้ใครเห็น ยิ้มแล้วกล่าวว่าอิเหนายกทัพมาช่วยก็ขอขอบใจ แล้วให้ตำมะหงงไปเชิญให้เข้ามาในเมืองจะได้พักผ่อนให้สบาย ตำมะหงงกราบทูลว่าอิเหนารู้ตัวดีว่ามีความผิดติดตัวอยู่ จึงขอทำศึกให้เสร็จสิ้น ก่อน จึงจะเข้ามาถวายบังคม ท้าวดาหาจึงไม่ได้รับสั่งอะไร แต่ถามสุหรานากงว่าจะทำศึกในเมือง หรือจะไปช่วยพี่ ๆรบ สุหรานากงทูลว่ามาอยู่ดาหานานแล้วจึงขออาสาออกไปช่วยอิเหนาและกะหรัดตะปาตีออกรบ เมื่อท้าวดาหาอนุญาต สุหรานากงก็กราบทูลลาออกมาเตรียมไพร่พลแล้วยกพลออกจากเมืองไปยั งค่ายของอิเหนา เมื่อไปถึงก็เข้าเฝ้าอิเหนาสนทนากันด้วยความยินดีเล่าเรื่องราว ตั้งแต่ต้นจนจบว่า เมื่อวันที่สุหรานากงมาถึงเมืองดาหาได้ทูลว่าอิเหนาจะยกทัพมาช่ วย ดูท่าทางท้าวดาหาจะขัดเคืองว่าไหนเลยจะจากเมืองหมันหยามาเพราะร ักเมียดังแก้วตาคงไม่มาแน่นอน เกิดศึกก็เพราะใครจนเดือดร้อนไปทั้งเมือง นับประสาอะไรกับท้าวดาหาแม้นตายก็คงไม่เผาผี อิเหนาได้ฟังก็ตอบว่าที่ท้าวดาหาขุ่นเคืองนั้นก็รู้กันอยู่อิเห นาไม่ถือโทษโกรธตอบคิดแต่จะทำศึกให้ได้ชัยชนะแล้วเข้าเฝ้าจะด่า ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ตำมะหงทูลว่าท้าวดาหารับสั่งให้ทูลอิเหนาว่าท่านขอบใจมากเชิญเข้าในเมืองจะได้พักพล แต่ตำมะหงทูลท้าวดาหาว่าอิเหนาจะขอทำศึกแก้ตัวก่อนเสร็จศึกแล้วจึงจะเข้าเฝ้าดูท่าทีจะคลายความโกรธเคืองลงแล้ว อิเหนาได้ฟังตำมะหงทูลก็รู้สึก อิเหนามีบัญชาให้จัดทัพเตรียมรบกับกะหมังกุหนิง อิเหนา ได้ฟังพี่เลี้ยงเล่าเรื่องราวให้ฟังจึงสั่งตำมะหงให้เร่งจัดทัพ ตำมะหงรับคำสั่งแล้วรีบออกไปจัดทัพทันที สบายใจเสด็จกลับเข้าข้างใน สุหรานากงก็กลับไปยังที่พัก อิเหนาและอนุชากรีพาทัพเผชิญทัพกะหมังกุหนิง เมื่อได้ฤกษ์ อิเหนา กะหรัดตะปาตี สุหรานากง สังคามาระตา และระเด่นดาหยน ต่างพากันเข้าที่อาบน้ำทิพย์มนต์ ทั้งห้าองค์ชำระร่างกายแล้วมหาดเล็กก็นำเครื่องทรงถวายบรรจงทาแ ป้งที่ปรุงด้วยกลิ่นดอกไม้ สวมใส่กางเกง สวมเสื้อสีต่าง ๆ รัดเข็มขัดที่ประดับด้วยเพชรพลอย สวมสังวาล สวมกำไลข้อมือแก้วจากพม่า สวมแหวนสวยงามระยับตา สวมมงกุฎและใส่ตุมหูเป็นอุบะเพชร เหน็บกริชอันมีฤทธิ์เสด็จออกมาที่เกยแก้ว ต่างองค์ขึ้นม้าพร้อมพลทั้งสี่เหล่า มหาดเล็กกั้นร่มทองเป็นสีต่างกันให้เดินทัพเป็นห้ากอง เสียงกลองเสียงปืนดังสนั่นครั่นครื้น ฝุ่นตลบอบอวนดังควันไฟ เมื่อมาใกล้กองทัพข้าศึกเห็นธงทิวปลิวไสวก็ให้หยุดทัพ ตำมะหงงรับคำสั่งก็ให้ธงสัญญาณหยุดทัพจัดทัพแบบนามครุฑวางกองทหารเยื้องกันเป็นปันปลาฝ่าย ท้าวกะหมังกุหนิง เห็นกองทัพใหญ่ตั้งมั่นขวางเมืองไว้จึงเรียกวิหยาสะกำโอรสและระ ตูปาหยัง กับระตูประ หมันน้องชายรีบกระตุ้นม้าออกไปประจำที่กองทัพ แล้วประกาศให้เร่งตีทัพดาหาให้ได้ในวันนี้ ดะหมังรับคำสั่งก็รีบเข้าโจมตีทันที บ้างจุดปืนใหญ่ (ฉัตรชัย มณฑก นกสับ) นายกองแกว่งดาบควบม้าเข้าชิงชัยกัน ทหารเมืองกุเรปันใช้ปืนตับยิงสกัดไว้แล้วไล่ประจัญบานกัน ต่างฝ่ายต่างมีฝีมือ ต่อสู้กันจนถึงอาวุธสั้น ดาบสองมือโถมเข้าทะลวงฟัน พวกใช้กริชต่อสู้ก็ต่อสู้กันพลวัน ทหารหอกก็ป้องปัดอาวุธไม่หลบหนี ทหารม้ารำทวนเข้าสู้กัน บ้างสกัดหอกที่ซัดมา บ้างพุ่งหอก บ้างยิงเกาทัณฑ์ เข้าตะลุมบอนกันกลางสนามรบ ส่วนที่ตายทับกันเหมือนกองฟาง เลือดไหลนองไปทั่วท้องทุ่ง กองหลังก็หนุนขึ้นไปไม่ขาดสายสังคามาระคา เห็นข้าศึกโจมตีไม่หยุดก็โกรธมากแกว่งดาบขับม้าเข้าโจมตีข้าศึก ตามลำพัง อิเหนากับระเด่นทั้งสามหันไปดูเห็นสังคามาระตา กล้าหาญไม่กลัวเก รงข้าศึกจึงขับม้าตามไปท้าวกะหมังกุหนิงมองเห็นอิเหนาและระเด่นทั้งสามจึงถามว่าใครคือ จรกา อิเหนายิ้มแล้วตอบว่ายกทัพมาจากเมืองกุเรปันเพื่อสังหารข้าศึกที่มาติดเมืองดาหา มาถามหาจรกานั้นไม่อยู่ในกองทัพนี้ ท้าวกะหมังกุหนิงรู้ว่าเป็นอิเหนาก็รู้สึกกลัวอยู่ลึก ๆ แต่แข็งใจตอบว่า อิเหนาอายุยังน้อยและรูปร่างก็สวยงามพอได้เห็นก็น่าเสียดายที่ต้องมาตายเสียเปล่าไม่ควรต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิง เพราะท้าวกะหมังกุหนิงกับอิเหนาไม่มีข้อขัดข้องหมองใจกันให้จรก ามารบเถิดจะได้ดูเล่นเป็นขวัญตา อิเหนาจึงตอบว่าอันตัวจรกานั้นไม่ได้อยู่ที่เมืองดาหานี้เมื่อท้าวกะหมังกุหนิง หลับหูหลับตามารบผิดเมือง ทำให้ไพร่พลล้มตายเสียเปล่า ถ้าจะรบกับจรกาก็ต้องไปเมืองของจรกา หากไม่รู้จักทาง อิเหนาจะช่วยชี้ทางให้ แต่ถ้ายังขืนตั้งทัพประชิดดาหาอยู่อีก ก็คงจะต้องรบกัน เพราะถึงระตูจรกาจะไม่ยกทัพมา ตัวอิเหนาเองในฐานะพี่ชาย ก็ต้องปกป้องบุษบาผู้เป็นน้องให้ปลอดภัยท้าวกะหมังกุหนิงจึงชี้แจงว่า ที่ยกกองทัพมาหมายจะชิงตัวนางบุษบา เพราะถึงท้าวดาหาจะรับของหมั้นจากจรกาไว้แล้ว แต่ก็ยังมิได้อภิเษกสมรสกัน จรกาไม่ได้มาด้วยก็ดี จะได้ไม่มี ก้างขวางคอ การชิงนางเช่นนี้ย่อมไม่ผิดธรรมเนียม เพราะเป็นประเพณีมาแต่โบราณ สุดแต่ว่าใครจะมีฝีมือมากกว่าก็ได้นางไป ดังนั้น เรื่องนี้คงไม่ใช่ธุระกงการอะไรของพี่ชาย เพราะฉะนั้นจงยกทัพกลับไปเสียดีกว่า อิเหนาจึงท้ารบกับท้าวกะหมังกุหนิง แล้วบอกว่าหากรักตัวกลัวตาย ก็ให้รีบมาก้มกราบแล้วยกทัพกลับเมืองไปเสีย วิหยาสะกำได้ยินแล้วเคียดแค้นแทนท้าวกะหมังกุหนิง จึงกล่าวกับอิเหนาว่าอย่าปากกล้าโอหังลบหลู่ผู้ใหญ่ อย่าทะนงตัวว่าเก่ง เมื่อรบกัน ไม่ใครก็ใครก็ต้องตายกันไปข้างหนึ่ง นี่ยังไม่ทันรบเลยก็มาพูดจาข่มขู่ให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้เสียแล้ว สังคามาระตาฟังวิหยาสะกำพูดดังนั้นก็โกรธ ขออาสารบกับวิหยากะกำ อิเหนาก็อนุญาตแต่กำชับเตือนว่าอย่าลงจากหลังม้า เพราะไม่ชำนาญเพลงดาบ ให้รบด้วยทวนบนหลังม้าซึ่งชำนาญดีแล้วจะได้มีชัยชนะในการรบ สังคามาระตาจึงขับม้าไปหยุดที่หน้าวิหยาสะกำ ร้องท้าให้รบด้วยเพลงทวน และแกล้งเยาะเย้ยว่าหากมีฝีมือควรคู่กับวงศ์เทวัญก็จะยกนางบุษบาให้ วิหยาสะกำแค้นใจ แกล้งเยาะเย้ยว่าหากมีฝีมือควรคู่กับวงศ์เทวัญก็จะยกนางบุษบาให้ วิหยาสะกำแค้นใจยิ่งนัก จึงถามออกไปว่าเจ้าผู้เก่งกล้ามีชื่อเสียงเรียงนามว่าอะไร อยู่เมืองไหนเป็นเชื้อสายตระกูลใด หรือเป็นเชื้อสายในวงศ์เทวัญของสี่เมืองจึงมาท้ารบช่างไม่กลัวตาย และผู้ที่ทรงม้าอยู่ในร่มมีใครบ้าง แล้วค่อยมารบกัน สั งคามาระตาได้ฟังก็โกรธมาก ก็ชี้แจงว่ามีอิเหนาเมืองกุเรปัน กะหรัดตะปาตีพี่ชายอิเหนา สุหรานากง แห่งเมืองสิงหัดส่าหรี ระเด่นดาหยนจากเมืองหมันหยา ตัวเราชื่อสังคามาระตาบุตรท้าวปักมาหงันเป็นน้องของอิเหนา วิหยาสะกำยิ้มเยาะแล้วว่ายังสงสัยว่าตัวสังคามาระตานั้นเป็นน้อ งอิเหนาได้อย่างไร หรือมีความรักใคร่กันขอให้บอกมาตามตรง สังคามาระตาโกรธมากร้องว่าไอ้ข้าศึกวาจาหยาบคายมาถามเอาอะไรนัก หนา จึงตอบว่า“สุดแต่ว่าจิตพิศวาส ก็นับเป็นวงศ์ญาติกันได้” หลังจากที่เจรจาได้สักพักก็ลงมือรบกัน ทั้งสองสู้ด้วยทวนบนหลังม้า อย่างกล้าหาญ สง่างามร่ายรำยักย้ายเปลี่ยนแปลกระบวนท่าเพลงทวนอย่างชำนิชำนาญ ในที่สุดสังคามาระตา ก็แกล้งลวงให้วิหยาสะกำแทงทวนแล้วทำทีพ่ายหนี วิหยาสะกำหลงกลชักม้าเลี้ยวตาม สังคามาระตาตลบหลังกลับมาทันที แล้วแทงทวนสอดลอดเกราะของวิหยาสะกำทำให้วิหยาสะกำตกจากหลังม้า ตายทันที เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงเห็นวิหยาสะกำถูกอาวุธตกจากหลังม้าก็โกรธ ยิ่งนัก ชักม้าแกว่งหอกเข้าใส่สังคามาระตาทันที อิเหนาจึงรีบควบม้าเข้ามาขวาง พุ่งหอกสกัดไว้ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็รับไว้ได้ ทั้งสองรุกไล่กันไปมา ในที่สุด อิเหนาชักม้าออกรอ ไม่บุกเข้าไป คิดว่าท้าวกะหมังกุหนิงนั้นมีฝีมือในการใช้เพลงทวนบนหลังม้า ยากต่อการเอาชนะ จึงต้องออกอุบายให้รบด้วยเพลงดาบ จึงจะสามารถเอาชนะได้ อิเหนาจึงท้าให้ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู้กันด้วยดาบท้าวกะหมังกุ หนิงก็รับคำ ชักดาบออกมาจ้วงฟันอย่างคล่องแคล่ว เมื่อผ่านไปได้พักใหญ่ อิเหนานึกในใจว่าท้าวกะหมังกุหนิงก็เก่งเพลงดาบ ยากที่ใครจะทัดเทียม จึงต้องสู้ด้วยกริชซึ่งองค์เทวัญ ประทานให้ จึงจะเอาชนะได้ อิเหนาก็ร้องท้าท้าวกะหมังกุหนิงให้มารำกริชสู้อีกเช่นกัน ท้าวกะหมังกุหนิงก็ชักกริชเข้าปะทะต่อสู้อย่างไม่ครั่นคร้าม จนเมื่ออิเหนาเห็นท้าวกะหมังกุหนิงก้าวเท้าผิด จึงแทงกริชทะลุอกไปถึงหลังทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงสิ้นใจตายทันที กะหรัดตะปาตี ระเด่นดาหยน สุหรานากง เห็นอิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิงสิ้นชีวิตลง ทั้สามจึงชักม้าเข้าสังหารข้าศึก จนระตูปาหยังกับระตูประหมันพ่ายหนีไป ระตูปะหมันและระตูปาหยังสุดที่จะทัดทานได้ก็แตกพ่ายไป ไพร่พลต่างกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง บ้างปลอมปนกับพลทหาร บ้างบ่าวหามใส่บ่าพาวิ่งหนี เครื่องแป้งทิ้งตกกระจายเกลื่อน บ้างหนามเกี่ยวหัวหูก็ไม่รู้สึกตัว บ้างก็หนีไปตามลำพัง บ้างก็ทิ้งปืนหนีไปแอบหลังเพื่อน พวกถูกปืนก็เซซังคลานหนี ระตูทั้งสองเมื่อกลับถึงค่ายก็ปรึกษากันขอยอมแพ้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการรักษาชีวิตและรี้พลไว้ แล้วระตูทั้งสองก็เข้าเฝ้าอิเหนา ระตูปะหมันและระตูปาหยังต่างกลัวจนตัวสั่นแจ้งแก่อิเหนาว่าทั้ง สองมีความผิดหนักหนาแต่ขอประทานชีวิตไว้จะขอเป็นข้ารับใช้ต่ออิเหนาจนกว่าจะตายและจะส่งบรรณาการมาถวายตามประเพณี อิเหนาก็ รับไว้เป็นเมืองขึ้น แล้วให้ทั้งสองนำศพของท้าวกะหมังกุหนิง และวิหยาสะกำไปทำพิธีตามประเพณี แล้วอิเหนาก็มาดูศพวิหยาสะกำ เห็นศพถูกทิ้งอยู่พิจารณาดูแล้วก็ใจหายเพราะยังเป็นหนุ่มอยู่รูปร่างก็สวยงามนับว่าสมชายชาตรี ฟังแดงดังแสงทับทิม หน้าตางดงามรับกับคิ้ว ผมปลายงอนงามรูปร่างสมส่วนอย่างนี้บิดาจึงรักรักรักหนาจนต้องมา ตายเพราะลูก หากจรกางดงามอย่างวิหยาสะกำก็จะไม่ร้อนใจว่าจะมาปะปนศักดิ์กัน แล้วอิเหนาก็ขึ้นม้ากลับที่พักไประตูปะหมันและระตูปาหยังกอดศพท้าวกะหมังกุหนิงพี่ชายร้องไห้รำพันออกมาด้วยความเศร้า ว่าท้าวกะหมังกุหนิงนั้นมีชื่อเสียงเกียรติยศปรากฏไปทั่วทุกแผ่นดินทำสงครามทุกครั้งที่ผ่านมาไม่เคยพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นเพราะคิดประมาทรักลูกมากเกินไปจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง อนิจจา วิหยาสะกำคงเป็นเวรกรรมแต่ครั้งก่อน เสียแรงที่มีกำลังมีความกล้าหาญต้องมาตายตั้งแต่ยังอายุน้อย ต่อไปนี้คงไม่ได้เห็นหน้า กลับบ้านเมืองไปคงจะมีแต่ความเงียบเหงา ทั้งสองระตูต่างโศกเศร้าเสียใจ. อิเหนาพบบุษบา นางบุษบา เป็นธิดาท้าวดาหากับประไหมสุหรี มีรูปโฉมงดงามปานนางอัปสรสวรรค์ มีอนุชาชื่อ สียะตรา และเป็นคู่ตุนาหงันกับอิเหนา อิเหนาเดินทางมาช่วยศึกที่ดาหาและได้พบกับบุษบาก็หลงรัก และพิโรธจรกามากที่ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์มาหมายปองนางหงส์เช่นนี้ อิเหนาพยายามเข้าหานางบุษบาทุกทาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นทางสียะตรา อนุชาบุษบาซึ่งติดอิเหนาเป็นว่าเล่น ด้วยหน้าตาที่คล้ายกับพี่สาวทำให้อิเหนานอนกอด สียะตราต่างนางบุษบาทุกคืน บางครั้งก็บ่นกับสียะตราว่าหนาว ให้ช่วยไปขอผ้าสไบพระพี่นางบุษบามาห่มกายจึงจะหายหนาว สียะตราก็ไปขอมาให้ อิเหนาเลยได้ผ้าสไบมากอดเล่นซะงั้น บางครั้งก็บ่นกับสียะตราว่าหิว อยากกินชานหมากที่บุษบาอมแล้วไปขอมาให้ที สียะตราก็ไปขอมาให้ ทำเอาอิเหนายิ้มน้อยยิ้มใหญ่ทีเดียว ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน มะเดหวีพาบุษบาไปไหว้พระในวิหารบนเขา แล้วเสี่ยงเทียนดูว่าดวงชะตาของนางจะคู่กับอิเหนาหรือจรกา โดยวิธีเสี่ยงทายนั้น ใช้เทียนสามเล่ม เล่มหนึ่งเป็นบุษบา ปักตรงหน้านาง อีกเล่มเป็นอิเหนา ปักทางขวา และข้างซ้ายเป็นจรกา มะเดหวีสอนให้บุษบากล่าวอธิษฐานว่า แม้น...จะได้ข้างไหนแน่ ให้ประจักษ์แท้จงหนักหนา แม้นจะได้ข้างระตูจรกาให้เทียนพี่ยานั้นดับไป บุษบาแม้จะอายใจเต็มทีก็จำต้องทำตามมะเดหวี แล้วก็มีเสียงจากปฏิมาว่า"...อันนางบุษบานงเยาว์ จะได้แก่อิเหนาเป็นแม่นมั่น จรกาใช่วงศ์เทวัญ แม้นได้ครองกันจักอันตราย" บุษบาแปลกใจที่พระพุทธรูปพูดได้ อิเหนาเห็นเป็นโอกาสจึงให้น้องไปเป่าเทียนของจรกาจนดับ หลังจากนั้นจึงต้อนค้างคาวให้บินว่อน ทำให้เทียนดับหมด จนวิหารมืดมิด แล้วก็ออกมากอดบุษบา นางตกใจส่งเสียงร้องให้ช่วย มะเดหวีให้ พี่เลี้ยงไปจุดไฟ ก็เห็นอิเหนากำลังกอดบุษบาอยู่ มะเดหวีจึงต่อว่าด้วยความแค้นใจ ที่อิเหนาทอดทิ้งบุษบาซึ่งเป็นคู่หมั้นหมายมาตั้งแต่เด็กอย่ามาสนใจใยดี เมื่อพ่อของบุษบายกให้นางแต่งงานกับจรกา ใยจึงมาข่มเหงรังแกเช่นนี้ อิเหนาก็ว่าหาได้ทอดทิ้งไม่ ตัวเขารักบุษบาอย่างสุดหัวใจ เพื่อแสดงความจริงใจจึงถอดแหวนมอบให้บุษบา แต่บุษบาไม่รับ มะเดหวีจึงถอดกำไลของบุษบาไปแลกกับแหวนของอิเหนาแทน ตอนลมหอบ อิเหนาบอกให้นางบุษบานอนเถิดอิเหนาจะกล่อม นางบุษบางดงามจริงดังรูปวาดหน้าตาสวยงามดังพระจันทร์ทรงกลด ดวงตางดงามราวตากวาง คิ้วงามดังคันศร รูปร่างอรชรอ้อนแอ้นดังนางฟ้า อิเหนาสุดที่จะถวิลหา อิเหนาคิดตรอมใจกลัวว่าจะไม่เป็นดังที่คิด เที่ยวบนบานเทพเจ้าทุกเช้าเย็นขอให้ได้ชิดชมนาง นับว่าเป็นบุญวาสนาที่ได้นางมาเชยชม อิเหนาขับกล่อมจนหลับไป เมื่ออิเหนาหลับสนิทก็ฝันไปว่ามีนกอินทรีย์ตัวใหญ่บินมาจับหน้า อิเหนาจิกเอาตาข้างขวาแล้วบินไปทางทางทิศตะวันออก อิเหนาก็ผวาตื่นทันที จับดูดวงตาก็ยังอยู่ดีก็รู้ว่าฝันไป ทำให้เห็นเหตุประหลาดเป็นโทษอันยิ่งใหญ่ อันนกอินทรีย์คงจะเป็นจรกา ส่วนดวงตาคงเป็นนางบุษบา จรกาคงจะโกรธและแค้นนักจึงตามมาชิงชัย ในความฝันเหมือนจะชิงนางไปได้ คิดแล้วอิเหนาก็เศร้าใจ ฝ่ายนางบุษบาตื่นขึ้นมาเห็นอิเหนาโศกเศร้าก็คิดขัดใจว่าอิเหนาคงคิดถึงนางจินตะหรา จึงผลักไสอิเหนาให้กลับเมืองไป อิเหนาเห็นนางบุษบาแค้นใจก็โลมเล้าเอาใจนางแต่นางก็ผลักไสไม่ใย ดี จึงว่า นางเคียดแค้นสิ่งใดหรือยังแคลงใจว่าอิเหนาคิดถึงนางจินตะ หราเพราะเห็นอิเหนาโศกเศร้า อิเหนาว่าไม่ได้คิดถึงแม้จะตายก็ไม่ขอไกลจากนางบุษบา ที่โศกเศร้าเพราะฝันร้ายแล้วเล่าความฝันให้นางฟัง เพราะความฝันน่ากลัวนักจึงร้องไห้แล้วก็กอดนางไว้แนบอกร้องไห้คร่ำครวญ ฝ่ายล่าสำ และ จรกา เดินป่ามาได้ ๒ วันเห็นพลับพลาในป่าก็ดีใจคิดว่าเป็นอิเหนาพานางบุษบาหนีมาแน่นอนจึงรีบขับช้างให้ถึงตำหนัก เมื่อถึงก็ลงจากหลังช้างบุกขึ้นไปด้วยความสงสัย เห็นสังคามาระตาก็ถามถึงอิเหนา สังคามาระตาจึงบอกล่าสำและจรกาว่าอิเหนาไปล่าเนื้อ จรกาก็ตอบด้วยความสงสัยว่าหากอิเหนาไปล่าเนื้อแล้วสังคามาระตาไม่ไปด้วยหรือจะอยู่ทำไม สังคามาระตาตอบว่าตนตกม้าขาบวมจึงไม่ได้ตามอิเหนาไป หากอาการดีทั้งสองคนคงไม่พบแน่แล้วสังคามาระตาก็แกล้งถามข่าวคราวการวิวาห์ของจรกาว่าเรียบร้อยแล้วหรือจึงยกทัพมาและจะไปทางไหนพา พระธิดามาเที่ยวป่าหรืออย่างไร จรกาถือใจซื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น ว่าเกิดการโกลาหลวุ่นวายไปทั้งเมืองมีการตีกลองศึกแล้วยิงปืนเส ียงโห่สนั่นร้องท้าทายชาวเมือง มันลอบจุดไฟโรงพีธีทุกที่ชาวเมืองอลหม่านวุ่นวาย สองกษัตริย์ยกพลออกมา มีผู้ลักพระธิดาหนีไป ข้าจึงมาติดตามนางมา จรกาเล่าไปก็ร้องไห้ไปด้วยความอัดอั้นตันใจ ทำอย่างไรจะพบอิเหนาสังคามาระตาแกล้งทำเป็นตกใจไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้น จึงบอกจรกาให้รออิเหนาก่อนจะให้ม้าใช้ไปตามอิเหนาให้แล้วสั่งพี่เลี้ยงให้บอกม้าใช้ไปตามอิเหนาให้รีบกลับมา พี่เลี้ยงรับคำสั่งแล้วมาบอกมหาดเล็กให้ไปบอกปะหรัดกะติกาที่อยู่ตรงทางร่วมไปยังถ้ำทองให้ไปทูลอิเหนาว่า ล่าสำและจรกาคอยอยู่ที่พลับพลาในป่า ปะหรัดกะติกาได้ฟังก็รีบโดดขึ้นหลังม้าควบไปทันที ถึงทางร่วมจะไปภูเขาจึงบอกเรื่องราวแก่ม้าเร็วให้ไปบอกพี่เลี้ย งอิเหนา พวกกองคอยเหตุทราบเรื่องก็รีบควบม้าไปทันทีแล้วเข้าไปแจ้งแก่พี ่เลี้ยงทั้งสี่ว่าตอนนี้ ล่าสำกับจรกามาคอยเฝ้าอยู่ที่พลับพลา กะระตาหลาพี่เลี้ยงทราบแล้วรีบแอบแฝงม่านทูลอิเหนาว่าล่าสำและจ รกามารออยู่ที่พลับพลาอยากพบอิเหนาเหมือนจะสงสัยในตัวอิเหนาอยู่ อิเหนาได้ข่าว ให้รุ่มร้อนดังไฟเผากอดนางบุษบาแล้วรำพันว่าคงจะเ ป็น เหมือนดังในฝันว่าพลางซบหน้าลงร้องไห้รับขวัญนางแล้วถอนใจให้หว ั่นใจยิ่งนักเหมือนจะชิงนางไปได้ หากนางต้องจากอกไปวันใดจะฆ่าตัวตายตามนางไป นางบุษบาก็โศกเศร้าคร่ำครวญซบหน้าลงร้องไห้ อิเหนาปลอบนางพลางเช็ดน้ำตาพลางด้วยความรักความอาลัยยิ่งกอดนาง ไว้แนบอกว่าอย่าร้องไห้ครั้งนี้เป็นกรรมต้องจากไกล ถึงไปก็ไปไม่นานนัก อิเหนาอุ้มนางขึ้นบนตักแล้วรำพันว่าอิเหนายิ่งทุกข์เหมือนคนอกหักต้องไกลนางสักร้อยปีหากไม่ไปพวกเขาก็จะสงสัยในอุบายของอิเหนา ขอให้นางรออยู่ที่นี่อย่าโศกเศร้าไปเลย แล้วเรียกสองนางพี่เลี้ยงให้ดูแลนางบุษบาให้ดี สั่งเสร็จก็เดินไปแล้วหันหน้ามาดูนางกลับมากอดนางไว้รำพันว่าเป็นกรรมที่ต้องจากห้องไปอิเหนาพานางมาไว้ในถ้ำทองแล้วมาทิ้งให้นางอยู่เดียวดายแล้วกอดปลอบนางสั่งเสียนางแล้วใจหายนึกถึงความฝันยิ่งสะท้อนใจ กะระตาจึงทูลเตือน อิเหนาจึงจำใจออกจากห้องนอน อิเหนาออกจากปากถ้ำที่กำบังแล้วจึงสั่งกะระตาหลาให้อยู่กับประสันตาคอยดูแลนางบุษบาแล้วขึ้นม้าพร้อมทหารลัดออกมาทางร่วมรีบเดินทาง เมื่อพบพวกไล่เนื้อในป่าใหญ่ก็ขับม้า กาว่าเข้าป่ามาทำไม จรการ้องไห้ทูลเล่าเรื่องว่าเมื่อวันจัดงานสยุมพร(แต่งงาน)เกิด เรื่องใหญ่มีเสียงตีกลองศึกกันวุ่นวายแล้วลอบเผาโรงพิธี สองกษัตริย์ออกมาดับไปมีผู้ร้ายแอบลักพาพระธิดาออกนอกเมืองไป ข้าจึงออกมาสืบข่าวก็ไม่ได้เรื่องเดินทางมาได้ ๒ วัน ๒ คืนแล้ว มันแกล้งทำลายน้ำใจแค้นยิ่งนักอยากจับตัดหัวเสียบประจานไว้กลาง เมือง แล้วดูอาการอิเหนาว่าจะเป็นอย่างไร อิเหนาแกล้งทำเป็นตกใจว่าใครนะช่างกล้าหาญนัก อิเหนาจึงว่าจรกาอย่าน้อยใจในทีแรกไม่อยากให้ปนศักดิ์ด้วยจรกาทีนี้ยิ่งร้ายน่าอายใครมาลักนางไปช่างไม่กลัวอำนาจของสองกษัตริย์เลยแถมยังไม่เกรงใจอิเหนาอีก เสียดายนางบุษบาน้องรัก เสียดายศักดิ์ศรีของวงศ์เทวัญคงจะปนกับคนชั่วช้ามีแต่จะอับอาย อิเหนาคิดถึงความฝันก็เลยโศกเศร้าเสียใจทำเป็นแค้นเคืองฝ่าย ๒ ระตู ล่าสำกับจรกาได้ฟังก็หมดสงสัยในตัวอิเหนา หากอิเหนาลักนางไปคงไม่โศกเศร้าเพียงนี้ แล้วจึงเล่าเรื่องความสงสัยของชาวเมืองว่าอิเหนาลักนางไป ล่าสำกับจรกาก็คิดเหมือนกัน แต่เมื่อมาพบอิเหนาแล้วก็สิ้นสงสัย อิเหนาได้ฟังจึงตอบว่าคนทั้งปวงเขาว่าอิเหนาลักนางไปสมควรที่จร กาจะสงสัย หากได้ตัวมันจะ ลงโทษให้สาแก่ใจที่มันโยนความผิดให้แก่อิเหนา แล้วสองพี่น้องก็ทูลลาขึ้นช้างเคลื่อนทัพไปทุกสุมทุมพุ่มไม้ ซอกห้วยเหวในป่าเป็นเวลาหลายวันหลายคืน สงสัยที่ไหนก็เที่ยวไปสืบค้นจนพ้นเขตเมืองดาหาล่วงแดนเมืองกะหมังกุหนิงก็หยกทัพอยู่ที่ชายป่าฝ่ายอิเหนาเมื่อสองพี่น้องจากไปแล้วก็คิดตรองการ จึงสั่งสังคามาระตาให้เตรียมกองทัพในตอนกลางคืนจะไปแก้สงสัยในเมืองดาหาในเวลาเช้าพรุ่งนี้ สั่งแล้วขึ้นม้าพร้อมทหารและพี่เลี้ยงรีบลัดเลาะมายังถ้ำทองเป็นเวลาเย็นพอดีเข้าในถ้ำพักนอนเข้าชิดแนบนางบุษบาแล้วเล่าเรื่อง ทั้งหมดให้ฟัง ว่าจรกากับล่าสำสองพี่น้องนั้นดูเหมือนจะไม่สงสัยแต่บอกข่าวว่า ชาวเมืองยังแคลงใจอยู่ จึงต้องแก้สงสัยก่อนจะได้สิ้นเรื่องนินทาว่าร้ายขอให้นางจงอยู่ รอที่นี่พรุ่งนี้จะจากไปแต่เช้าคิดแล้วเหมือนเป็นเวรกรรมได้แต่ โศกเศร้าคร่ำครวญ นางบุษบาได้ฟังเหมือนดังจะขาดใจร้องไห้แล้วทูลอิเหนาว่าคิดอย่างไรจึงลักพานางมาไว้ในถ้ำทองนางต้องจากพ่อแม่มาก็แสนโศกเศร้าเม ื่ออิเหนาอยู่ด้วยก็จะมาทิ้งไว้คนเดียวคำสัญญาว่าจะไม่จากไปไหน คงจะเป็นเพียงมารยาจะไปแก้สงสัยหรือจะไปยังเมืองหมันหยากันแน่ หากอิเหนาไปแล้วจะกลับมา หรือไม่ก็คงเท่ากันคงจะแกล้งให้นางเสีย ใจแล้วทิ้งนางให้ตายจากไปแล้วนางก็หันหน้าหนี อิเหนาปลอบนางบุษบาว่ารักนางเท่าชีวิตไม่คิดกลับเมืองหมันหยาอย่าได้ระแวงแคลงใจเลยที่ทำการดังนี้ก็เพราะรักนางไม่กลัวแม้ต้อง สิ้นชีวิตจะไม่ทิ้งนางอย่างแน่นอน หากอิเหนาไม่ไปจะเป็นดังที่ชาวเมืองสงสัยนางอย่าได้น้อยใจเลยหา กแก้สงสัยชาวเมืองได้จะรีบกลับทันที นางบุษบาเห็นอิเหนาโศกเศร้านักก็เข้าใจว่าอิเหนามีความรักมั่นค งไม่คิดแคลงใจ จึงบอกอิเหนาให้ช่วยพานางวิยะดามาด้วยเพราะนางคิดถึง อิเหนาได้ฟังก็รับคำและปลอบโยนนางจนเป็นที่พอใจ เมื่อแก้สงสัยแล้วจะพานางวิยะดามาด้วยแล้วเล้าโลมนางให้คลายทุกข์ อิเหนาเปิดม่านสั่งสอนพี่เลี้ยงให้คอยอยู่อย่าให้โศกเศร้า พรุ่ง นี้ต้องจากไกลไปแก้สงสัยในเมืองพอตกเย็นจะกลับมาหากนางบุษบาโศก เศร้าให้คอยปลอบโยนนาง จะให้ประสันตา กับ กะระตาหลาอยู่เป็นเพื่อนจะไปไม่ถึงกลางคืนจะจากไปขอผ้าสไบของนางไปดูต่างหน้าแล้วอิเหนาก็ถอดแหวนใส่นิ้วก้อยให้นางไว้ดูต่างหน้าแล้วโศกเศร้าโศกา นางบุษบาเอาแต่โศกเศร้าแล้วว่าอิเหนาจะทิ้งนางไว้คนเดียวเหมือน ตัดไมตรี คนรออยู่หลังมีแต่จะโศกเศร้า นางบุษบาเอาแต่โศกเศร้าแล้วว่าอิเหนาจะทิ้งนางไว้คนเดียวเหมือน ตัดไมตรี คนรออยู่หลังมีแต่จะโศกเศร้าเสียใจหากอิเหนาจากไปแล้วพอตกเย็นให้กลับมาให้ถึงที่นี่หากไม่กลับมาจะฆ่าตัวตายนางร้องไห้คร่ำครวญจนสลบลง อิเหนาเห็นนางบุษบาร้องไห้จนสลบลงจึงยกมือขึ้นซับน้ำตาแล้วว่าอย่าโศกเศร้าไปเลยจะเป็นลางเสียเปล่า ๆ อิเหนาให้สะท้อนใจจึงอุ้มนางขึ้นบนตักกอดรับขวัญมองดูหน้านางจะ ต้องจากไปแล้วยิ่งเศร้าสร้อยเสียใจไม่ได้หลับนอน จนไก่ขันและนกดุหว่าร้องเป็นเวลารุ่งสางแล้วจะต้องจากไปแล้วขอให้นางอยู่จงดี นึกถึงความฝันแล้วยิ่งหวั่นใจเหมือนจะไม่ได้กลับมาเห็นหน้าอิเหนาตัดใจออกจากห้องนอนไปสั่งเสียนางเหมือนไม่อยากจากไป เห็นนางร้องไห้ก็กลับมากอดปลอบขวัญว่าไปไม่นานจะกลับมาแล้วตัดใจจากไป แล้วเรียกประสันตากับกะระตาหลาพี่เลี้ยงมาสั่งว่าจะเข้าไปในเมืองขอให้พี่เลี้ยงทั้งสองเฝ้าคูหา หากอิเหนายังไม่กลับมาในตอนเย็นนางจะคิดว่าหนีไปให้ช่วยปลอบ นาง พานางไปเที่ยวชมพรรณไม้ในสวน ชวนเก็บดอกไม้เล่นให้เพลินใจ กำชับผู้คนอย่าให้เกิดความสงสัยอันใดแล้วอิเหนาแข็งใจขึ้นม้าพร้อมหาดเล็กออกจากปากถ้ำไปเมื่อไปถึงเชิงผาสะตาหมันก็มองดูพรรณไม้ต่าง ๆ ที่อิเหนาปลูกไว้ออกดอกสวยงามคิดว่าจะพานางบุษบามาชมสวนแต่มาอยู่ได้ ๒ วัน ยังไม่ทันพานางมาชมคงเป็นเวรกรรมที่ต้องพลัดพรากกัน หากเขาไม่สงสัยคงไม่จากนางไปจะอยู่ชมสวนกับนาง หอมดอกกล้วยไม้ยิ่งคิดถึงกลิ่นสไบของนางยิ่งคิดก็เสร้าใจเหลียว มองถ้ำแล้วก็ร้องไห้จึงรีบควบม้าลัดดงไป เมื่อถึงที่พลับพลาทหารเตรียมพร้อมแล้ว สังคามาระตาก็ออกมาต้อนรับพร้อมทหาร เดินทางมากลางป่าอิเหนายิ่งคิดถึงนางบุษบา มองดูนกยูงก็ไม่ส่งเสียงร้องดูท่าทางหงอยเหงา ดอกไม้ที่ออกดอกก็เหี่ยวแห้งโรยรา ฝูงกวางวิ่งหนี วัวกระทิงวิ่งตัดหน้าขบวนทำให้อิเหนาเกิดความสงสัย ว่าจะเกิดเหตุร้าย ลมก็ไม่พัด ใบไม้ก็ไม่ไหวติง พวงอุบะที่ทัดไปก็ขาดตกลงกลางทาง ต้นยางใหญ่ก็ล้มลงมาขวางทาง การเดินทางครั้งนี้ประหลาดนักเคยเดินทางหลายครั้งไม่เคยเป็นเช่นนี้ อิเหนายิ่งคิดก็ยิ่งนึกถึงความฝันว่าจะเป็นเหมือนลางที่เกิดขึ้นกลางทางก็ยิ่งคิดถึง นาง พลางเร่งควบม้าไป จนถึงเมืองดาหาลงจากหลังม้าเข้าเฝ้าท้าวดาหา ท้าวดาหาเห็นอิเหนาก็เมินหน้าหนีนึกเคืองใจอยู่แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรได้จึงถามอิเหนาว่ากลับมาทำไม อิเหนาตอบไปด้วยปัญญาว่าวานนี้จรกาไปแจ้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเมืองว่าข้าศึกนั้นจุดไฟเผาโรงพิธีแล้วลักเอาบุษบาไป อิเหนาพึ่งทราบข่าวจึงรีบามาเฝ้าจะอาสาออกติดตาม ท้าวดาหาจึงพูดกลบเกลื่อนว่าเรื่องนี้พระองค์เข้าใจดีแต่ชาวเมืองเขาสงสัยว่าอิเหนาลักนางบุษบาไปไม่ใช่ข้าศึกจากที่ไหน แต่ท้าวดาหาไม่ได้สงสัยเพราะอิเหนาไม่ต้องการนางแล้วจึงทำให้ถึงวงศ์ตระกูล อิเหนาฟังแล้วให้อัดอั้นตันใจจึงก้มลงกราบทูลว่า เขาเกลียดชังตนจึงให้ร้ายเอา อิเหนาล่าเนื้ออยู่ในป่าพบกับล่าสำและจรกาคนทั้งหลายคิดว่าเป็น อิเหนาก็แล้วจะคิดใครจะคิดอย่างไรก็ไม่กลัวแล้วแต่จรกาผู้ผัวจะ คิด แต่เมืออิเหนาทำดีแล้วก็ไม่ร้อนใจ แล้วอิเหนาทูลลาท้าวดาหาไปเฝ้าพระบิดา เมื่อนางวิยะดาเห็นอิเหนาก็วิ่งมากระโดดกอดแล้วถามหานางบุษบาว่าอยู่ไหนนางมาด้วยหรือไม่ให้บอกมา อิเหนาจึงตอบนางวิยะดาว่าอย่าอื้ออึงไปหากจรการู้เข้าจะมิมาฆ่า อิเหนาเสีย ตอนนี้นางบุษบาสั่งมาว่าคิดถึงพอบ่ายคล้อยจะพาไปจะ ได้อาบน้ำกับ พี่นาง เก็บกรวดต่างๆในสายน้ำ แม้พี่ทูลลาน้องจงร้องไห้อยากเข้าป่าด้วยใครจะปลอบอย่างไรก็อย่าหยุดให้อ้อนให้เต็มที่แล้วอุ้มนางไปยังปราสาททอง เมื่อไปถึงจึงกราบพระบิดาและพระมารดาก้มหน้าตรึกตรอง ท้าวกุเรปันจึงถามว่าอิเหนาพานางบุษบาไปหรืออย่างไร ให้บอกมาตามตรงเพราะต่างคนเขาสงสัยกัน อิเหนายิ้มแล้วทูลว่าไม่ทราบเรื่อง ตั้งใจล่าเนื้ออยู่ในป่ามาพบกับ ๒ ระตู จรกาเล่าให้ฟังทั้งน้ำตาอิเหนาก็พลอยร้องไห้ไปด้วยจรกาก็สิ้นสงสัย ขอให้จรกามาเป็นพยาน ท้าวกุเรปันได้ฟังจึงคิดและกล่าวว่า ใครจะว่าอย่างไรก็ตามแต่อิเหนานั้นดีอยู่ถึงจะพาไปจริงก็ไม่เป็นไร เพราะหมั้นหมายกันไว้ วงศ์ตระกูลก็เหมาะสมกัน เพราะความรักของชายหนุ่มกลัดกลุ้มนักจึงลักนางไป อิเหนาชอบใจซ่อนยิ้มอย่างสบายใจจึงไม่ตอบว่าอย่างไร ท้าวกุเรปันจะไต่ถามซักไซ้ให้หายสงสัยก็กลัวอิเหนาจะน้อยใจจึงปรึกษากับประไหมสุหรีว่าเกิดเหตุขึ้นอย่างนี้จะนิ่งเฉยอยู่ไม่ดี นักจะคิดผ่อนปรนอย่างไรดีในเมื่อบรรณาการเขาก็ส่งมามากมาย นางจินดาส่าหรีธิดาของสิงหัดส่าหรีก็ยังไม่มีคู่หมั้นพี่จะขอนางมาแทนบุษบาให้แก่จรกาจะได้มีไมตรีกันสืบไป น้องจะว่า อย่างไร ส่วนสิงหัดส่าหรีคงไม่ขัดคำสั่งหรอก นางประไหมสุหรีก็เห็นชอบด้วย เวลาบ่ายสองกว่า ๆ อิเหนาก็ร้อนรนคิดถึงนางบุษบาจึงทูลพระบิดาว่าจะเข้าป่าเที่ยวตามหานางบุษบาเพราะสัญญาไว้กับจรกา ฝ่ายวิยะดาเห็นอิเหนาทูลลาก็วิ่งมากอดคอไว้ทำร้องไห้ดิ้นรนจะตามไปด้วยใครห้ามก็ไม่ฟัง พี่เลี้ยงเอาเครื่องเล่นมาล่อก็ไม่สนใจ ประไหมสุหรีเห็นวิยะดาร้องไห้จึงให้อิเหนาพานางไปด้วยจะได้ชมพร รณไม้ในป่าสักระยะหนึ่งแล้วให้พากลับเมือง อิเหนารีบรับคำด้วยความยินดีรีบอุ้มนางออกไป แล้วบอกแก่บาหยันให้พนักงานเตรียมรถทรงจะพาวิยะดาไปเที่ยวป่า เร่งจัดนางกำนัลให้พร้อมกันทั้งน้อยใหญ่ สั่งแล้วอิเหนาก็กลับไปยังที่พักนางบาหยันพี่เลี้ยงจึงบอกนางกำนัลให้เตรียมแป้ง กระจก ข้าวของใส่ปิ่นโตสาน แล้วออกจากวังมาพบพี่เลี้ยงปูนตาหน้าที่พักอิเหนาให้เตรียมรถแก ้วพระธิดาจะไปเที่ยวป่าสั่งแล้วก็เข้าข้างใน พี่เลี้ยงปูนตาจึงเร่งจัดไพร่พลตามกระบวนยาตราเตรียมเกยเทียบรถ รอ พอเวลาบ่ายพี่เลี้ยงทั้งสี่ก็ชวนกันแต่งตัวพระบุตรี อาบน้ำปนด้วย เครื่องหอม ผัดหน้านวลสวยงามกระหมวดผมเป็นมวยเกี้ยวกับดอกราชาวดี กรอบหน้าเป็นลายกุดั่น ห้อยอุบะส่งกลิ่นหอม สวมกางเกง คลุมสไบสีนวลขลิบทอง ที่แขนประดับปะวะหล่ำลงยา สวมกำไลแขนรูปพญานาคพันกัน สร้อยสังวาลประดับทับทิม เข็มขัดลายประจำยามก้ามปู สวมแหวนเพชรรูปงู เมื่อแต่งตัวเสร็จพี่เลี้ยงและนางกำนัลก็ออกมารอเวลาเดินทาง ฝ่ายอิเหนาให้คิดถึงนางบุษบารีบแต่งตัวแล้วอุ้ม นางวิยะดา มือซ้ายถือกริชอันมีฤทธิ์มายังเกยแล้วเสด็จขึ้นรถแก้วกับองค์ขนิษฐาสั่งให้เคลื่อนพลออกจากเมืองดาหา เดินทางผ่านท้องทุ่งใกล้เนินเขาต้นไม้ร่มรื่นบังแสงอาทิตย์ ตอนปิดเรื่อง ส่วนบุษบา หลังจากลมหอบไปยังเมืองปะมอตันแล้ว องค์ปะตาระกาหลา ก็สำแดงตนบอกเล่า เรื่องราวให้ทราบว่า นี่เป็นการลงโทษอิเหนา ทั้งสองจะต้องผจญความลำบากอยู่ระยะหนึ่ง จึงจะได้พบกันองค์ปะตาระกาหลาได้แปลงตัวบุษบาให้เป็นชาย มอบกริชจารึกพระนามว่ามิสาอุณากรรณ ให้มีความสามารถทางการรบ หลังจากนั้น อุณากรรณเดินทางเข้าเมืองปะมอตัน ท้าวปะมอตันรับเลี้ยงไว้เป็นโอรส ต่อมาอุณากรรณกับพี่เลี้ยงก็ยกพลออกเดินทางเพื่อตามหาอิเหนา ผ่านเมืองใดเจ้าเมืองไม่อ่อนน้อมก็รบพุ่งได้ชัยชนะหลายเมือง จนกระทั่งถึงเมืองกาหลัง ได้พบกับปันหยี ทั้งสองฝ่ายต่างก็แคลงใจว่าอีกฝ่ายคือบุคคลที่ตนเที่ยวหา แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยตัว ได้แต่สังเกตและคุมเชิงกันอยู่ที่เมืองกาหลัง ปันหยีและอุณากรรณได้เข้าอ่อนน้อมต่อท้าวกาหลัง ท้าวกาหลังก็ทรงโปรดทั้งสองเหมือนโอรส ต่อมามีศึกมาประชิดเมืองเพราะท้าวกาหลังไม่ยอมยกธิดา คือสะการะหนึ่งหรัดให้ ปันหยีและอุณากรรณอาสารบ สามารถชนะศึกได้อย่างง่ายดาย เหตุการณ์นี้ทำให้ปันหยี อุณากรรณและสะการะหนึ่งหรัดใกล้ชิดสนิดสนมกันมากยิ่งขึ้น ทำให้อุณากรรณกลัวความจะแตกว่านางเป็นหญิง กอปรกับต้องการติดตามหาอิเหนาต่อไป จึงทูลลาท้าวกาหลังกลับเมืองปะมอตัน แต่นางออกอุบายให้ทหารกลับเมืองตามลำพัง ส่วนนางกับพี่เลี้ยงหนีไปบวชชี (แอหนัง) เพื่อหาทางหลบหนีการตามพัวพันของปันหยีฝ่ายสียะตราแห่งเมืองดาหา ครั้นทำพิธีโสกันต์เสร็จก็แอบหนีพระบิดาปลอมตัวเป็นปัจจุเหร็จโจรป่าชื่อ ย่าหรัน ออกเดินทางหาอิเหนาและบุษบา องค์ปะตาระกาหลาแปลงเป็นนกยูงมาล่อย่าหรันไปถึงเมืองกาหลังได้เข้าเฝ้าและพำนักอยู่ในเมือง ต่อมาย่าหรันและปันหยีเกิดต่อสู้กัน เพราะเกนหลงหนึ่งหรัดเป็น ต้นเหตุ ในที่สุดอิเหนาและสียะตราก็จำกันได้ เพราะมองเห็นกริชของกันและกัน ต่อมาปันหยีทราบว่ามีแอหนังบวช บนภูเขา รูปงามละม้ายบุษบา จึงออกอุบายปลอมตัวเป็นเทวดาหลอกนางมายังเมืองกาหลัง เมื่อปันหยีพิศดูนางก็ยิ่งละม้ายนางบุษบา แต่พอเห็นกริชของนาง ชื่ออุณากรรณ ก็เข้าใจว่านางเป็นชายาของอุณากรรณ ฝ่ายพี่เลี้ยงของปันหยีคิดเล่นหนังทดสอบแอหนัง โดยผูกเรื่องตามชีวิตจริงของอิเหนากับบุษบาทุก ๆ ตอน นางแอหนังฟังเรื่องราวก็ร้องไห้คร่ำครวญ ทั้งสองฝ่ายจึงจำกันได้ อิเหนาจึงให้นางสึกจากชี ระเด่นทั้งสี่ คือ อิเหนา บุษบา สียะตรา และวิยะดา จึงพบกันและจำกันได้หลังจากดั้นด้นติดตามกันโดยปราศจากทิศทาง (มะงุมมะงาหรา) เสียนานกษัตริย์วงศ์เทวาได้มาพร้อมกัน ณ เมืองกาหลัง หลังจากทราบเรื่องและเข้าใจกันดีแล้ว จึงได้มีการอภิเษกสมรสกันขึ้นระหว่างคู่ตุนาหงันในวงศ์เทวา พร้อมทั้งอภิเษกธิดาระตูอื่น ๆ เป็นมเหสีกษัตริย์วงศ์เทวาจนครบตำแหน่ง เช่น อิเหนาอภิเษกกับบุษบาและจินตะหรา โดยบุษบาเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหรา มะเดหวีฝ่ายซ้าย บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย ระหนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็นเหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยาเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย สียะตราอภิเษกกับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด กะหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สุหรานากงครองเมืองสิงหัดส่าหรี กะหรัดตะปาตีครองเมืองกาหลัง. โวหารหรือกวีโวหารแต่ละชนิดที่ปรากฏ การใช้คำและโวหาร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย ดังนี้ การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น ตอนอิเหนาชมดง ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่ เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี การใช้โวหารเปรียบเทียบ คือ โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน กวีเปรียบได้ชัดเจน เช่น กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์ เห็นผิดระบอบบุราณมา ปาหยังกับปะหมันประเมินกำลังฝ่ายตนว่าเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น คงสู้วงศ์เทวาไม่ได้ จึงไม่ควรสู้เป็นการเตือนสติให้หยุดคิด แต่ก็ไม่ได้ผล ปัญหาใหญ่จึงตามมา หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะหรา ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ ที่มาของสำนวน "ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ" คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก เพราะเพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อนยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ สงสาร และเห็นใจว่า แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ อีกตอนหนึ่งมีใช้อุปมาโวหารได้กินใจเช่นกัน เพราะแสดงความรักอันท่วมท้นของพ่อที่มีต่อลูก "พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา" ความรักของพ่อทนไม่ได้ที่เห็นลูกมีทุกข์ หากแลกได้จะยอมรับทุกข์แทนลูก แต่เมื่อทำไม่ได้พ่อก็ ต้องพยายามจนถึงที่สุด แม้รู้ว่าจะไปตายก็ยอม บทเปรียบเทียบนี้เปรียบกับธรรมชาติ คือ ต้นไม้บางประเภทที่เมื่อออกผลแล้วต้นจะตายไป ต้นไม้ตายเพราะลูกก็เปรียบได้กับท้าวกะหมังกุหนิงต้องตายเพราะมีสาเหตุมาจากวิหยาสะกำซึ่งเป็นพระราชโอรสนั่นเอง อุปมานี้ฝากข้อคิดไว้ให้ลูก ๆ ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเรามากมายเพียงใด อีกตอนหนึ่งเป็นข้อความในพระราชสาส์นที่ท้าวกุเรปันมีไปถึงอิเหนา ท้าวกุเรปันเป็นคนรักลูกก็จริง แต่ก็หยิ่งในเกียรติถือยศถือศักดิ์ ถ้าลูกผิดก็จะไม่มีวันโอนอ่อน คำประพันธ์ตอนนี้จึงให้อารมณ์ของความเด็ดขาด เข้มแข็ง ไม่มีการอ้อนวอนขอร้องใด เปิดโอกาสให้อิเหนาคิดเอาเอง หากไม่มาก็ถือตัดพ่อตัดลูกชนิดไม่ต้องมาเผาผีกัน แม้มิยกพลไกรไปช่วย เราก็ม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย ใช้คำบรรยายชัดเจนได้ภาพพจน์ ผู้อ่านนึกภาพตามผู้เขียนบรรยายตามไปยิ่งจะทำให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น เช่น ตอนอิเหนาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิงด้วยใช้กริชเป็นอาวุธ จะเห็นลีลาท่าทางและจังหวะที่สอดคล้องกัน เห็นทีท่าอันฉับไวและสง่างาม เมื่อนั้น ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี ได้ฟังคำชื่นชมยินดี ครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์ อันเพลงกริชชวามลายู กูรู้สันทัดไม่ขัดสน คิดแล้วชักกริชชวามลายู ร่ายทำทำกลมารยา กรขวานั้นกุมกริชกราย พระหัตถ์ซ้ายนั้นถือเช็ดหน้า เข้าปะทะประกริชด้วยฤทธา ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม เมื่อนั้น ระเด่นมนตรีชาญสมาน พระกรกรายลายกริชติดตาม ไม่เข็ดขามคร้ามถอยคอยรับ หลบหลีกไวว่องป้องกัน ผัดผันหันออกกลอกกลับ ปะทะแทงแสร้างทำสำทับ ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง ล้มลงดาวดิ้นสิ้นกำลัง มอดม้วยชีวังปลดปลง รสของวรรณคดีที่ปรากฎ รสทางวรรณคดีไทย รสทางวรรณคดีที่ มีอยู่ ๔ ชนิด คือ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิไสย ๑) เสาวรจนี (เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม) รสนี้เป็นการชมความงาม ชมโฉม พร่ำพรรณาแลบรรยายถึงความงามแห่งนาง ทั้งตามขนบกวีเก่าก่อนแลในแบบฉบับส่วนตัว ตัวอย่างเช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง เกศาปลายงอนงามทรง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา จากบทข้างต้น เป็นการกล่าวชมรูปโฉมของวิหยาสะกำ ซึ่งถูกสังคามาระตาสังหาร กล่าวว่า วิหยาสะกำนั้น เป็นชายหนุ่มรูปงาม ฟันนั้นเป็นแสงแวววาวสีแดงราวกับแสงของทับทิม ซึ่งตัดรับกับคิ้ว รวมทั้งปลายเส้นผมซึ่งงอนงามขึ้นเป็นทรงสวยงาม รับกับทรวดทรงองค์เอวของวิหยาสะกำ ๒) นารีปราโมทย์ (นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ว่า) คือ การทำให้ "นารี" นั้น ปลื้ม "ปราโมทย์" ซึ่งรูปแบบหนี่งก็คือ การแสดงความรักผ่านการเกี้ยวแลโอ้โลมปฏิโลม. อันคำว่า "โอ้โลมปฏิโลม" นี้ ความหมายอันแท้จริงของคำก็คือ การใช้มือลูบไปตาม (โอ้) แนวขน (โลมา) และย้อน (ปฏิ) ขนขึ้นมา เมื่อโอ้โลมไปมา ในเบื้องปลาย นารีก็จักปรีดาปราโมทย์ ในตอนที่ศึกษา มี เพียงแค่ตอนที่อิเหนากำลังสั่งลาจากนางจินตะหรา ซึ่งเมื่ออ่านดูแล้วบางทีอาจจะไม่ถึงกับเป็นการโอ้โลมปฏิโลมเท่าใดนัก เพียงจะจัดไว้ ณ ที่นี้ เนื่องเพราะเป็นบทที่แสดงถึงความรัก กล่าวคือ เมื่อนั้น พระสุริย์วงศ์เทวัญอสัญหยา โลมนางพลางกล่าววาจา จงผินมาพาทีกับพี่ชาย ซึ่งสัญญาว่าไว้กับนวลน้อง จะคงครองไมตรีไม่หนีหน่าย มิได้แกล้งกลอกกลับอภิปราย อย่าสงกาว่าจะวายคลายรัก จากบทข้างต้น ก็คือบทที่อิเหนาได้บอกกล่าวกับจินตะหรา ว่าตนไปก็คงไปเพียงไม่นาน ขอจินตะหราอย่าร้องไห้โศกเศร้าเลย ๓) พิโรธวาทัง (พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารามณ์ + วาทัง น. วาทะ คำพูด) คือการแสดงความโกธรแค้นผ่านการใช้คำตัดพ้อต่อว่าให้สาใจ ทั้งยังสำแดงความน้อยเนื้อต่ำใจ, ความผิดหวัง, ความแค้นคับอับจิต แลความโกรธกริ้ว ตามออกมาด้วย เหมือนกล้วยกับเปลือก. กวีมักตัดพ้อและประชดประเทียดเสียดแลสี เจ็บดังฝีกลางกระดองใจ อ่านสนุกดีไซร้แฮ! ตัวอย่างของรสพิโรธวาทังนี้ก็มีอยู่มากมาย ที่จะยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็จะมี เมื่อนั้น พระผู้ผ่านไอศูรย์สูงส่ง ประกาศิตสีหนาทอาจอง จะณรงค์สงครามก็ตามใจ ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร จากอาสน์แท่นทองผ่องใส พนักงานปิดม่านทันใด เสด็จเข้าข้างในฉับพลันฯ ในบทที่ยกมานี้ เป็นตอนที่ท้าวดาหาได้ฟังความจากราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิง ที่กล่าวไว้ว่าถ้าท้าวดาหาไม่ยอมยกบุษบาให้กับวิหยาสะกำ ก็ขอให้เตรียมบ้านเมืองไว้ให้ดี เพราะเมืองกะ-หมังกุหนิงจะยกทัพมารบ เมื่อท้าวดาหาได้ฟังก็โกรธเดือดดาลทันใด จึงบอกไปว่าจะมารบก็มา แล้วก็ลุกออกไปทันที ๔) สัลลาปังคพิไสย (สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่ำน้ำตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ แลบแล่นในเนื้อใจ, การครวญคร่ำรำพันรำพึง / สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว + พิไสย น. ความสามารถ ฤาจะแผลงมาจาก วิสัย ซึ่งแปลว่า ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ฤาสันดาน ก็อาจเป็นได้) คือ การโอดคร่ำครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก. มีใช้ให้เกลื่อนกล่นไปในบรรดานิราศ (ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก, ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู่) เนื่องเพราะกวี อันมีท่านสุนทรภู่นำเริ่ดบรรเจิดรัศมีอยู่ที่หน้าขบวน จำต้องจรจากนางอันเป็นที่รัก อกจึงหนักแลครวญคร่ำจำนรรจ์ ประหนึ่งหายห่างกันไปครึ่งชีวิต ในตอนนี้ก็มีเช่นกัน เป็นบทที่อิเหนา กำลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่ เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา ฯลฯ จากบทข้างบน จะเห็นได้ว่าอิเหนากำลังโศกเศร้าอย่างหนัก จะเรียกว่าอยู่ในขั้นโคม่าเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะมองอะไร ก็นึกถึงแต่นาง ทั้งสามที่ตนรัก อันได้แก่ จินตะหรา มาหยารัศมี และสการะวาตี มองสิ่งใด ก็สามารถเชื่อมโยงกับนางทั้งสามได้หมด คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย กระทรวง หมู่ กระยาหงัน สวรรค์ กราย เคลื่อน ไหวอย่างมีท่าที หรือลีลาในการใช้อาวุธ กลับกลอก พลิกไปพลิกมา ที่นี้หมายถึงขยับอาวุธ กล่าว ที่นี้หมาย ถึงสู่ขอ กะระตะ กระตุ้นให้ม้าเดิน หรือวิ่ง กั้นหยั่น อาวุธ สำหรับเหน็บติดตัว กัลเม็ด ปุ่มที่ฝัก อาวุธ กิริณี ช้าง แก้วพุกาม แก้ว มีค่าจากเมืองพุกามในพม่า เขนงปืน เขา สัตว์ที่ใช้ใส่ดินปืน โขลนทวาร ประตูป่า งาแซง ไม้เสี้ยมปลาย แหลม สำหรับวางเรียง ป้องกัน ข้าศึกจตุรงค์ กอ ทัพสี่เหล่าคือ ช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า ชักปีกกา จัดกองทัพเป็นรูปปีก กา ชีพ่อ นัก บวช/พราหมณ์ ดวงยิหวา ผู้เป็นที่รักยิ่ง ดัสกร ศัตรู ดูผี เยี่ยม เคารพศพตุนาหงัน หมั้นหมาย ถอดโกลน ชักเท้าจากโกลน (ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า) ไถ้ ถุงสำหรับ ใส่เงินและสิ่งของ มักคาดไว้ที่เอว นามครุฑ การตั้งค่ายเป็นรูป ครุฑ บุหรง นก บางครั้งหมายถึง นกยูง ประเจียด ผ้า ที่ใช้ลงอาคม ใช้ในการป้องกันอันตรายในการสู้รบ ประเสบัน ตำหนัก ป่วยขา บาดเจ็บที่ขา ปักมาหงัน ชื่อเมืองของ ระตูผู้เป็นบิดาของสังคามาระตา พหล พลขันธ์ กองทัพใหญ่ ม่านสองไข ม่าน ๒ ชาย ที่แหวกกลางไปรวบไว้ที่ด้านข้างมุรธาวารี ภิเษก น้ำที่ผ่าน พิธีกรรมเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ย่างที สะเทิน การเดิน อย่างเร็วของช้าง ระเด่น มนตรี คำเรียก อิเหนา ระตู คำเรียก เจ้าเมืองที่ไม่ใช่วงศ์เทวัญ ล่าสำ ระตูผู้ เป็นพี่ชายของจรกา เลี้ยง ที่นี้ หมายถึงรับเป็นภรรยา วงศ์เทวัญ อสัญหยา เชื้อ สายกษัตริย์ที่สืบมาจากเทวดา วิหลั่น ค่ายที่ขยับ เข้าใกล้ข้าศึกทีละนิด ศรีปัตหรา กษัตริย์ผู้เป็น ใหญ่ ที่นี้คือ ท้าวดาหา ศัสตรา อาวุธ ส่งสการ พิธีกรรม เกี่ยวกับการปลงศพ สามนต์ เจ้าเมือง ที่เป็นเมืองขึ้น เสาตะลุง เสาใหญ่สำหรับ ผูกช้าง อะหนะ ลูก อัธยา อัธยาศัย/ความ ประสงค์ ข้อคิดเห็นหรือคุณค่าที่ได้จากเรื่อง คุณค่าในวรรณคดี ๑. คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ ๒. คุณค่าในด้านวรรณศิลป์ ๒.๑ ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน ๒.๒ การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน ๒.๓ การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง ๒.๔ การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ ๓. คุณค่าในด้านความรู้ ๓.๑ สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ ๔. คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม ๔.๑ การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปการแสดงละคร ๔.๒ การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น ๔.๓ การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ข้อคิดที่ได้ ๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง ๒. การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกลับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่ ๓. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน ๔. การไม่รู้จักประมาณตนเอง เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีในสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดมาในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราก็ควรรู้จักประมาณตนเองบ้าง ใช้ชีวิตไปกับสิ่งที่คู่ควรกับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมี เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้จักประมาณตนเองก็จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักประมาณตนเอง ก็อาจทำให้เราไม่มีความสุข เพราะไม่เคยสมหวังในชีวิต เช่นกับ จรกาที่เกิดมารูปชั่ว ตัวดำ อัปลักษณ์ หน้าตาน่าเกลียด จรกานั้นไม่รู้จักประมาณตนเอง ใฝ่สูง อยากได้คู่ครองที่สวยโสภา ซึ่งก็คือบุษบา เมื่อจรกามาขอบุษบา ก็ไม่ได้มีใครที่เห็นดีด้วยเลย ในท้ายที่สุด จรกาก็ต้องผิดหวัง เพราะอิเหนาเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับบุษบาไม่ใช่จรกา ๕. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา
Comments
Report "อิเหนา"
×
Please fill this form, we will try to respond as soon as possible.
Your name
Email
Reason
-Select Reason-
Pornographic
Defamatory
Illegal/Unlawful
Spam
Other Terms Of Service Violation
File a copyright complaint
Description
Copyright © 2024 UPDOCS Inc.